กาลิงคโพธิชาดกที่มาของพฤกษเจติยะในฐานะสายดือทวีป
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มุ่งนำเสนอแนวคิดการสร้าง สถาปนาพระสถูปเจดีย์ในพุทธศาสนา อันมีที่มาจากคติถูปาหารบุคคล คือบุคคลที่ควรแก่การสร้างสถูปบูชาแล้วยังมีสิ่งที่พระศาสดาให้ความสำคัญ ว่าสามารถเป็นเครื่องรำลึกแทนพระองค์ได้ คือต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ทรงประทับในคราตรัสรู้นั้นเอง จากความสำคัญของต้นโพธิ์ตรัสรู้ และสถานที่อันเป็นชัยภูมิคือโพธิมณฑลซึ่งเป็นสายดือทวีป และคติการแสวงบุญบูชาสังเวชนียสถาน ในกาลต่อมาคติดังกล่าวได้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสถาปนาพระเจดีย์ในพระศาสนาในยุคสมัยต่างๆ ในดินแดนล้านนาเองก็เช่นกันจากการศึกษาตำราการร้างธาตุเจดีย์ก็ล้วนระบุการจำลองโพธิมณฑลเป็นศนย์กลางของผังมณฑลตั้งแต่รับฐานราก โดยในบทความนี้ ผู้เขียนต้องการนำเสนอ 1. คติโพธิบูชาในครั้งพุทธกาล ความหมาย คุณค่าและการตีความในแง่มณฑลจักรวาล 2. คติโพธิบูชา กับการสร้างสถาปนาพระธาตุเจดีย์ในอาณาจักรล้านนา จากพับสาตำราการสร้างเจดีย์อักษรธรรมล้านนา 3. คุณค่า ภูมิปัญญา การสืบเนื่องของคติโพธิมณฑล โพธิบูชากับสังคมล้านนาในปัจจุบัน ซึ่งการตีความ ที่เกี่ยวข้องกับคติมหาโพธิมณฑล จุดศูนย์กลางจักรวาลตามคติพุทธ ภายใต้กระบวนทัศน์และบริบทที่หลากหลายจะทำให้เข้าใจโลกทัศน์สภาพสังคมล้านนามากขึ้น
บรรณานุกรม
เกรียงไกร เกิดศิริ.(2560). พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช มรดกพุทธศาสนสถาปัตยกรรม ศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนาเถรวาทแห่งคาบสมุทรภาคใต้ . คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะอนุกรรมการตรวจสอบและชำระตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ (2538) . ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ700ปี. เชียงใหม่ .สถาบันราชภัฎเชียงใหม่
เจริญ มาลาโรจน์ (มาลา คำจันทร์ ).(2548) . มองโลกล้านนาผ่านอรุณวดีสูตร . โรงพิมพ์สันติภาพ
ชาตรี ประกิตนนทการ(2552). “คติสัญลักษณ์ ‘ศีรษะแผ่นดิน" ศิลปวัฒนธรรม 31 (เมษายน) หน้า84-111
เชษฐ์ ติงสัญชลี (2555) . “สัตตมหาสถาน : พุทธประวัติตอนเสวยวิมุตติสุขกับศิลปกรรมอินเดียและเอเชียอาคเนย์ . เมืองโบราณ
เชษฐ์ ติงสัญชลี .(2556).สังเวชนียสถาน และสถานที่สำคัญทางพุทธประวัติในอินเดีย – เนปาล .มิวเซียมเพรส
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยา(2463). ตำนานพระพุทธเจดีย์. คุรุสภา, กรุงเทพฯ.
ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมสมเด็จพระ(2540). ปฐมสมโพธิกถา. กรมศิลปากร.
พระพุทธญาณ พระพุทธพุกาม, บำเพ็ญ ระวิน แปล (2463). มูลสาสนา สำนวนล้านนา. ม.ป.ท.
พระวาจิสสรเถระ. (2511).พระคัมภีร์ถูปวงศ์ ตํานานว่าด้วยการสร้างพระสถูปเจดีย์, พิมพ์เป็น อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางอนุ ทองไข่มุกต์,
พระสัทธรรมโฆษเถระ(รจนา).(2528).ศาสตราจารย์ แย้ม ประพัฒน์ทอง, ผู้ แปล, โลกบัญญัติ
พระรตนปัญญามหาเถระ, แสง มนวิทูร, ผู้แปล. (2501). ชินกาลมาลีปกรณ์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. กรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในการบูรณะโบราณสถาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
ศรีศักร วัลลิโภดม (2546) . ความหมายของพระบรมธาตุในอารยธรรมสยามประเทศ. เมืองโบราณ
ศักดิ์ชาย สายสิงห์(2547). พระธาตุหริภุญไชย : ต้นแบบเจดีย์ “ทรงระฆังแบบล้านนา.” ดำรงวิชาการ ฉบับ 2547, กรกฎาคม-ธันวาคม).
ศานติ ภักดีคำ (2552). “ไตรภูมิหรือวรรณกรรมโลกศาสตร์พระพุทธศาสนา : ความสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมไทย.” กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์.
สรัสวดี อ๋องสกุล ,ศาสตราจารย์ . (2551). ประวัติศาสตร์ล้านนา พิมพ์ครั้งที่4.กรุงเทพ.อมรินทร์
สมคิด จิระทัศนกุล. (2545). คติ สัญลักษณ์ และความหมายของซุ้มประตู - หน้าต่างไทย. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ), พระแก้วมรกต. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๗
เอเดรียน สนอดกราส (2541). สัญลักษณ์แห่งพระสถูป. อมรินทร์วิชาการ, กรุงเทพฯ.
อุดม รุงเรืองศรี .(2525).ไตรภุมม์ (ไตรภูมิฉบับล้านนา). หน่วยส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมศึกษา และวัฒนธรรมล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่