ความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในจังหวัดลำปาง

  • สอาด สุรินทร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
  • กาญจนา ภาสุรพันธ์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่น
คำสำคัญ: 1.ความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล 2.การจัดหาบุคลากร 3.การควบคุมดูแลบุคลากร 4.การดูแลรักษาบุคลากร 5.คุณภาพชีวิตการทำงาน

บทคัดย่อ

บทความการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในจังหวัดลำปาง 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของบุคลากรต่อการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ บุคลากรของครู ในสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในจังหวัดลำปาง จำนวน 250 คนซึ่งมาจาก วิทยาลัยเทคนิคลำปาง จำนวน 113 คน วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง จำนวน 46 คน วิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง จำนวน 20 คน วิทยาลัยเทคนิคนครลำปาง จำนวน 27 คน วิทยาลัย การอาชีพเถิน จำนวน 13 คน วิทยาลัยเทคนิคการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ จำนวน 20 คน และวิทยาลัยการอาชีพแจ้ห่ม จำนวน 11 คน โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลในสถานศึกษา 4 ด้านคือ ด้านงานจัดหาบุคลากร ด้านงานดูแลรักษาบุคลากร ด้านการควบคุมดูแลบุคลากร และด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (F-test)

ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า 1) ความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล 4 ด้านโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย 3.89 และมีค่าเฉลี่ยเรียงตามลำดับดังนี้ ด้านงานดูแลรักษาบุคลากร (X = 3.938) ด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน (X = 3.886) ด้านการควบคุมดูแลบุคลากร (X = 3.882) และด้านงานจัดหาบุคลากร (X = 3.873) 2). ผลการศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล จำแนกตามประเภทบุคลากร พบว่าประกอบด้วยกลุ่มข้าราชการจำนวน 117 คน (X = 4.072) พนักงานราชการจำนวน 18 คน (X = 4.304) และครูพิเศษสอน จำนวน 115 คน (X = 3.886) มีความพึงพอใจแตกต่างกันโดยมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 จำแนกบุคลากรตามประเภทสถานศึกษาพบว่าประกอบด้วย วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง (X = 4.331) วิทยาลัยเทคนิคลำปาง (X = 4.173) วิทยาลัยการอาชีพเถิน (X = 4.156) วิทยาลัยการอาชีพแจ้ห่ม (X = 3.939) วิทยาลัยเทคนิคการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ (X = 3.938) วิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง (X = 3.810) วิทยาลัยเทคนิคนครลำปาง(X = 2.921) มีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 

บรรณานุกรม

นพดล วรรณแก้ว. (2560). ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด. [ค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นพพิจิตร วิชัยดิษฐ์. (2560). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารวิทยาลัยสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสุราษฏร์ธานี. วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. http://www.edu-journal.ru.ac.th/AbstractPdf/2561-2-16_1526527784_5824478233.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2552). ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.กรุงเทพฯ: บริษัทมิตรภาพการพิมพ์และสติวดิโอ จากัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). สภาวะการศึกษาไทยปี 2558/2559 ความจำเป็นของการแข่งขันและการกระจายอำนาจในระบบการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: 21 เซ็นจูรี่.

สุกัญญา วังทอง. (2560). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในอำเภอธัญบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 2 [งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

เผยแพร่แล้ว
2024-06-25