การสื่อประสม เรื่องการตั้งถิ่นฐานในยุคหิน-ยุคโลหะ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนวัดบวกครกเหนือ

  • สุจิดา สงวนบวร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ศรีสกุล ชัยเวียง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ณัฐธยาน์ อินต้นพั้ว โรงเรียนวัดบวกครกเหนือ
คำสำคัญ: การสื่อประสม, การตั้งถิ่นฐานในยุคหิน-ยุคโลหะ, โรงเรียนวัดบวกครกเหนือ

บทคัดย่อ

ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างสื่อประสม และเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียนด้วยสื่อประสม และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดบวกครกเหนือจำนวนทั้งหมด 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบก่อน - หลังเรียน แบบฝึกหัดระหว่างเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็น เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาประสิทธิผล , ประสิทธิภาพ และความคิดเห็นของนักเรียนที่ได้เรียนด้วยการใช้สื่อประสม

            คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้สื่อประสม เป็นเวลา 1 ซม. ผลการศึกษาพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการใช้สื่อประสม ปรากฏว่า พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยการใช้สื่อประสม การตั้งถิ่นฐานในยุคหิน-ยุคโลหะ มีสถานะเป็นนักเรียนเพศชาย จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 42.85 และหญิงจำนวนคือ 20 คน คิดเป็นร้อย 57.15

            พบว่า คะแนนเฉลี่ย () ก่อนเรียนเท่ากับ 4.48 คะแนน หลังเรียนเท่ากับ 8.34คะแนน และมีค่าดัชนีประสิทธิผล (Ei) เท่ากับ 0.69 คะแนน แสดงว่ามีประสิทธิผลผ่านเกณฑ์

         พบว่า คะแนนเฉลี่ย () ระหว่างเรียนเท่ากับ 9.09 คะแนน หลังเรียนเท่ากับ 8.34 คะแนน และมีค่าดัชนีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ (80.88/79.33) คะแนน แสดงว่ามีประสิทธิภาพผ่านเกณฑ์

         พบว่า ความหมายความคิดเห็นของนักเรียนโดยรวมที่เรียนด้วยสื่อประสม อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.58 , SD = 0.16) มีภาษาที่ครูใช้ทำให้นักเรียนเข้าใจง่าย อยู่ในระดับดีมาก (= 4.92, SD = 0.29) รองลงมา

วีดีทัศน์ที่ครูใช้ในการสอนมีความเหมาะสมกับเนื้อหา มีค่าเท่ากับบุคลิกภาพ การแต่งตัวของครูมีความเหมาะสม (= 4.75 , SD = 0.45) และ PowerPoint ที่ครูใช้ในการสอนมีความเหมาะสมกับเนื้อหา ตัวหนังสือชัดเจน มีค่าเท่ากับ นักเรียนสามารถนำเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ไปต่อยอดในการเรียนครั้งต่อไป (= 4.58 , SD = 0.51) ตามลำดับ

เผยแพร่แล้ว
2023-03-14