แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 โรงเรียนธรรมราชศึกษาโดยใช้สื่อการสอน

  • พระญาณวิทย์ ชัยตัน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ศรีสกุล ชัยเวียง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระมหาณัชพล สิงห์มี โรงเรียนธรรมราชศึกษา
คำสำคัญ: เครื่องมือทางภูมิศาสตร์, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5, สื่อการสอน

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการเรียน เรื่อง แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนธรรมราชศึกยา โดยใช้สื่อการสอน ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อตรวงสอบประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ของนักเรียนนั้นมัธยมศึกษาปีที่ รโดยใช้สื่อการสอน ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการเรีขน เรื่อง แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนธรรมราชศึกษาโดยใช้สื่อการสอน 3) เพื่อศึกษาความพึ่งพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนธรรมราชศึกษาในการเรียน เรื่องแผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ โดยใช้สื่อการสอน

 ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยประยุกต์ร่วมกับวิธีการวิจัยและพัฒนาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการสอนแบบสื่อการสอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนแบบทคสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้วิธีการสอนแบบสื่อการสอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน โดขลักษณะคำถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของวิธีการสอนแบบสื่อการสอน และวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้วิธีการสอนแบบสื่อการสอน ด้วยสถิติพื้นฐานค่าเฉลี่ย (x) และส่วนเยี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการวิจัยพบว่า

1) ประสิทธิภาพวิธีการสอนแบบใช้สื่อการสอน เพื่อศึกษาพัฒนาผลสัมฤทธิ์ มีค่าเท่ากับ 81/83 ซึ่งได้มากกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้

2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนพบว่านักเรียนทำคะแนนหลังเรียนได้มากกว่าก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 83.

3) สำหรับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อวิธีการสอบแบบสื่อการสอน พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดสำหรับข้อเสนอแนะในการวิจัยนั้นผู้วิจัยเห็นว่า ในการสอนต้องเลือกใช้วิธีการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหา และจัดเวลาให้เพียงพอกับการฝึกฝน ตลอดถึงตระหนักรู้และเข้าใจถึงความสำคัญของแผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์เพื่อให้นักเรียนได้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ส่วนในการวิจัยต่อเนื่อง ผู้วิจัยเห็นว่าควรใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปปฏิสัมพันธ์สองทาง ระหว่างผู้เรียนกับสื่อเพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้และตรวจสอบผลการเรียนรู้ของตนเองได้ทันที

เผยแพร่แล้ว
2023-03-14