การใช้สื่อประสมและการสร้างแรงจูงใจในการเรียนการสอนโดยใช้บัตร สะสมแต้มสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนธรรมราชศึกษา จังหวัดเชียงใหม่

  • พระธนวิชญ์ ธีรวโร (แซ่ย่าง) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ไพศาล ศรีวิชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • สุภาพ สุดแสงตา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
คำสำคัญ: สื่อประสม, การสร้างแรงจูงใจ, บัตรสะสมแต้ม

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอน เรื่อง การเงินและการคลัง โดยใช้การสอนแบบสื่อประสมและการสร้างแรงจูงใจในการเรียนการสอนโดยใช้บัตรสะสมแต้มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ระหว่างเรียนและหลังเรียน เรื่อง การเงินและการคลัง จากการใช้สื่อประสมและการสร้างแรงจูงใจในการเรียนการสอนโดยใช้บัตรสะสมแต้มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยวัดจากการหาค่าประสิทธิภาพ (เกณฑ์ 80/80) ของการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้การสอนแบบสื่อประสมและการสร้างแรงจูงใจในการเรียนการสอนโดยใช้บัตรสะสมแต้ม

ผลการวิจัยพบว่า

1.) คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่จัดการเรียนการสอนแบบสื่อประสมและการสร้างแรงจูงใจในการเรียนการสอนโดยใช้บัตรสะสมแต้มทางไลน์ เรื่อง การเงินและการคลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ค่าร้อยละของคะแนนผลสัมฤทธิ์ระหว่างการเรียนรู้คือ 89.5 คะแนนและร้อยละการเรียนรู้หลังเรียน คือ 91 คะแนน ซึ่งพบว่าผลสัมฤทธิ์ระหว่างเรียนและหลังเรียน เรื่องการเงินและการคลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การสอนแบบสื่อประสมและการสร้างแรงจูงใจในการเรียนการสอนโดยใช้บัตรสะสมแต้ม มีผลทำให้ผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพิ่มขึ้น และผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80

2.) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการเรียนรู้ คือ 6.4 คะแนน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ 2.30 คะแนน และค่าเฉลี่ยหลังเรียน คือ 18.2 คะแนน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ 1.40 คะแนน ซึ่งพบว่าความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยหลังเรียนมากกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3.) นักเรียนมีความพึงพอใจหลังเรียนรู้อยู่ในระดับเห็นด้วย มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.66

เผยแพร่แล้ว
2023-03-14