การศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการเรียน เรื่องสถาบันการเงิน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนฮอดพิทยาคม โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปเป็นฐาน

  • พระนนทวัตร ชยาลงฺกรโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระวิทวัส โกฎฺฉกรรจ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
คำสำคัญ: บทเรียนสำเร็จรูป, คะแนนก่อนเรียน, คะแนนหลังเรียน, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลการใช้บทเรียนสำเร็จรูป รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ เรื่อง สถาบันการเงิน  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนฮอดพิทยาคม

2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ เรื่อง สถาบันการเงิน  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนฮอดพิทยาคม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจขอเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ เรื่อง สถาบันการเงิน  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนฮอดพิทยาคม

      ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการใช้บทเรียนสำเร็จรูป พบว่านักเรียนยังไม่มีการพัฒนาขึ้นนวัตกรรมยังไม่ได้มาตรฐาน ผู้ศึกษาสร้างขึ้น มีค่าดัชนี ประสิทธิผลเท่ากับ EI = 0.72 และมีประสิทธิภาพเท่ากับ       E1 / E2= 76.66 / 84.44 หมายความว่านักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยจากการทำกิจกรรมในแต่ละแบบฝึกหัด คิดเป็นร้อยละ 76.66  และคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์  คิดเป็นร้อยละ 84.44  แสดงให้เห็นว่า การใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่องสถาบันการเงิน มีประสิทธิภาพเช่นนี้เนื่องมาจาก การสร้างนวัตกรรมด้วยบทเรียนสำเร็จรูป ได้ทำการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลก่อน และการสร้างบทเรียนสำเร็จรูปผ่านการตรวจสอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาและครูพี่เลี้ยง
    1. ความแตกต่างระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเหตุการณ์แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ พบว่า การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนมากไปในทิศทางที่สูงขึ้น

    3.ความพึงพอใจเกี่ยวกับผลการใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่องสถาบันการเงิน  ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามคือ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1/3 จำนวน 36 คน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ จากการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนความคิดเห็น ภาพที่ใช้ประกอบสอดคล้องกับเนื้อหา เฉลี่ยอยู่ในระดับที่ 4.53 หมายถึง ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาตัวอักษรและสีที่ใช้สื่อความหมายที่เข้าใจง่าย เฉลี่ยอยู่ในระดับที่ 4.47  หมายถึง ความพึงพอใจในระดับมาก คำชี้แจงของการใช้บทเรียนสำเร็จรูปชัดเจนเข้าใจง่าย เฉลี่ยอยู่ในระดับที่ 4.44 หมายถึง ความพึงพอใจในระดับมากเนื้อหามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เฉลี่ยอยู่ในระดับที่ 4.44 หมายถึง ความพึงพอใจในระดับมาก เรื่องเนื้อหาบทเรียนชัดเจน เฉลี่ยอยู่ในระดับที่ 4.36  หมายถึงความพึงพอใจในระดับมาก เนื้อหามีความน่าสนใจสอดคล้องต่อเนื่องกัน เฉลี่ยอยู่ในระดับที่ 4.31 หมายถึงความพึงพอใจในระดับมาก

เผยแพร่แล้ว
2023-03-14