การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Mind Mapping) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดศรีสว่าง

  • บังอร ใจกลางเมือง Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Chiang Mai Campus

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเศรษฐศาสตร์ เรื่อง สินค้าและบริการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Mind Mapping)  ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดศรีสว่าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 จำนวน 1 ห้องรวมทั้งหมด 8 คน โดย ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบไปด้วยแผนการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์เรื่อง สินค้าและบริการ จำนวน 1 แผนการเรียนรู้เป็นเวลา 1 ชั่วโมง แบบวัดผลสมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลัง เรียน เรื่องสินค้าและบริการ จำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ

ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์เรื่อง สินค้าและบริการ  โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Mind Mapping) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งกล่าวคือ นักเรียนได้คะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.50 คิดเป็นร้อยละ 87.5 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดซึ่งสูงกว่าก่อนเรียน

Published
2023-03-14
How to Cite
ใจกลางเมืองบ. (2023). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Mind Mapping) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดศรีสว่าง. Journal of Teaching Science, 2(2). Retrieved from https://firstojs.com/index.php/JEM/article/view/1154