การศึกษาผลการใช้สมุดสะสมคะแนนในการสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ในการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดศรีสว่าง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

  • กิตติมา พสุธาสีนิล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ไพศาล ศรีวิชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • อนุษา ใหม่ศรี โรงเรียนวัดศรีสว่าง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการใช้สมุดสะสมคะแนนในการสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการส่งงานในวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนวัดศรีสว่าง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 คนกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 13 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ สมุดสะสมคะแนนและสติกเกอร์แต้มคะแนนในการสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการส่งงาน โดยอาศัยของรางวัลเป็นตัวเสริมแรง ผู้วิจัยใช้ระยะเวลาในการวิจัยตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 การวิเคราะห์ข้อมูลโดย เปรียบเทียบร้อยละการส่งส่งงานของนักเรียนก่อนและหลังใช้สมุดสะสมคะแนนในการสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการส่งงานและวิเคราะห์คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x)

ผลการวิจัยพบว่า การใช้สมุดสะสมคะแนน ภายหลังจากการเรียนโดยใช้สมุดสะสมคะแนนกลุ่มสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงาน ปรากฏว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดศรีสว่าง ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2565 ที่ผู้วิจัยรับผิดชอบสอน จำนวน 13 คน มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงานและการส่งงานสูงขึ้น

บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

กรมวิชาการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพมหานคร : ชมรมเด็ก.

ประสาท อิศรปรีดา. (2531). จิตวิทยาการศึกษา. มหาสารคาม : ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พรรณี ชูทัยเจนจิต. (2545). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร : คอมแพคท์พรินท์.

เพ็ญศรี พิลาสันต์. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ กลุ่มสาระเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีปกติ. (2551). วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภูรินท์ บูรณพล. (2552). การสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการส่งงานโดยการใช้สมุดสะสมคะแนนในวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่2/6 โรงเรียนห้องสอนศึกษา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.hongson.ac.th/abstract/abstract19.pdf [26 กุมภาพันธ์ 2556]

นายวรกฤต เอกธนารัฐ. (2546). การสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการส่งงานโดยใช้สมุดสะสมคะแนนในวิชาคอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 4 (สิทธิไชยอุปถัมภ์). (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.reocities.com/classroom_research2548/classroom-research-accumulate-score-book.pdf [24 มกราคม 2556]

สุขุมาลย์ แสงกล้า. (2551). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ในการเรียนวิทยาศาสตร์ ระหว่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบบกระตือรือร้นกับแบบวัฎจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2541). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาพร ทัศคร. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และความฉลาดทางอารมณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทบาทสมมติและการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2542. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
อเนกกุล กรีแสง. (2521). จิตวิทยาการศึกษา. พิษณุโลก : วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก.
เผยแพร่แล้ว
2023-03-14