พระเมืองแก้วกับการส่งเสริมพระพุทธศาสนาในยุคล้านนา

  • พัลลภ หารุคำจา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน
  • เทพประวิณ จันทร์แรง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน
  • พระครูสิริสุตานุยุต - มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน
  • ธวัชชัย ไชยวุฒิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน
คำสำคัญ: พระเมืองแก้ว, การส่งเสริมพระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาเกี่ยวกับพระเมืองแก้วในด้านการส่งเสริมพระพุทธศาสนาในยุคล้านนา โดยกล่าวถึงการส่งเสริมพระพุทธศาสนาในด้านคำสอน การปกครอง วัฒนธรรม และการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระองค์ ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาพุทธศาสนาและวัฒนธรรมล้านนาในช่วงเวลานั้น พระเมืองแก้วมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาและทรงดำเนินการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดหลายแห่ง พร้อมทั้งสนับสนุนการศึกษาพระธรรมวินัยในภาษาบาลี การปกครองบ้านเมืองของพระองค์ยังคงยึดมั่นในหลักเมตตาธรรมที่ได้แรงบันดาลใจจากพระพุทธศาสนา การก่อสร้างศาสนสถานและการส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนาเป็นส่วนสำคัญในการรักษาความสงบสุขและเจริญรุ่งเรืองให้แก่บ้านเมือง ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในล้านนา ความสำคัญของกษัตริย์กับพระพุทธศาสนา พระเมืองแก้วกับการส่งเสริมพระพุทธศาสนาในยุคล้านนา  ประกอบด้วย ด้านคำสอน ทาน ศีล ภาวนา ด้านการปกครอง ทรงปกครองบ้านเมืองโดยยึดหลักเมตตาธรรม ด้านวัฒนธรรมการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ ด้านการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาทรงสนับสนุนการเผยแพร่พระพุทธศาสนา  ซึ่งทำให้เข้าใจถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่มีต่อการส่งเสริมพระพุทธศาสนาในยุคล้านนาและส่งผลต่อการพัฒนาทางสังคมและจิตใจของชาวล้านนาอย่างยั่งยืน

บรรณานุกรม

พระครูปลัดอุทัย รตนปัญโญ. (2559). คำคมโวหารล้านนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). ส.ทรัพย์การพิมพ์.
พระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิ. (2558, 15 ตุลาคม).ใน วิกิพีเดีย. สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2568, จาก th.wikipedia.org/wiki/พระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิ.
วัชรินทร์ บัวจันทร์. (2554). แดนแห่งพลังศรัทธา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. Silpakorn University Repository. https://sure.su.ac.th/ xmlui/handle/ 123456789/6444
สงวน โชติสุขรัตน์. (2552). ตำนานเมืองเหนือ (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์ศรีปัญญา.
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2546). ศิลปสถาปัตยกรรม: วัดเจ็ดยอด (มหาโพธาราม) ศิลปะยุคทองของล้านนา. มิ่งเมือง.
สมหมาย เปรมจิตต์. (2545). เอกสารประกอบการเสวนาเรื่องวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาล้านนา ในการจัดประชุม สัมมนาทางวิชาการเรื่อง "พระพุทธศาสนาในล้านนา" โดยคณะศาสนาและปรัชญา ระหว่างวันที่ 20-21 กรกฎาคม พ.ศ. 2545. ธนาคารไทยพาณิชย์
สมหมาย เปรมจิตต์. (2556). วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในล้านนา. มหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา.
สรัสวดี อ๋องสกุล. (2552). ประวัติศาสตร์ล้านนา (พิมพ์ครั้งที่ 6). อมรินทร์.
สรัสวดี อ๋องสกุล, (2557). กษัตริย์ล้านนาเชียงใหม่. ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สิงฆะ วรรณสัย. (2522). โคลงเรื่อง มังทรารบเชียงใหม่. ศูนย์หนังสือเชียงใหม่.
สุรพล ดำริห์กุล และคณะ. (2549). พระพิมพ์สกุลลำพูนจากล้านนาสู่สากล, บทความ, ในหนังสือสืบศิลป์ สานศรัทธา อนุรักษ์คุณค่า พระบูชา พระเครื่องล้านนา. โรงพิมพ์นันทกานต์.
สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์. (2555). นิกายพุทธศาสนาในล้านนา ระหว่างรัชสมัยพระเจ้าติโลกราชถึงพญาแก้ว (พ.ศ. 1984-2068): ศึกษาจากพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ที่มีจารึกในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 32(2), 7-26.
เสนอ นิลเดช. (2537). ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
แสง จันทร์งาม. (2535). ศาสนศาสน์. ไทยวัฒนาพานิช.
เผยแพร่แล้ว
2025-04-04