การบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาระดับนานาชาติ

  • สามเณรสุขสวรรค์ พรหมทอง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • ประดิษฐ์ คำมุงคุณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • วราสายะ วราสยานนท์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
คำสำคัญ: การสอนภาษาอังกฤษ, การเผยแผ่พระพุทธศาสนา, สื่อดิจิทัล, การเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม, เทคโนโลยีดิจิทัล

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งวิเคราะห์และนำเสนอแนวทางการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในระดับนานาชาติ โดยเน้นการสร้างสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษของพระสงฆ์และบุคลากรทางศาสนาในยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญ ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาสากลถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการเผยแผ่หลักธรรมผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ แอปพลิเคชัน และสื่อสังคมออนไลน์ การศึกษาเน้นถึงการผสมผสานเทคโนโลยีดังกล่าวกับวิธีการสอนแบบดั้งเดิม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารและการถ่ายทอดหลักธรรมที่เข้าถึงผู้คนหลากหลายวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม ความท้าทายที่สำคัญคือการรักษาความถูกต้องของหลักธรรม การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของผู้เรียน และการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยี แนวทางแก้ไขที่เสนอในการศึกษานี้ ได้แก่ การวางแผนการเรียนรู้แบบผสมผสาน การฝึกอบรมบุคลากร และการใช้เทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น ปัญญาประดิษฐ์และแพลตฟอร์มเสมือนจริง เพื่อส่งเสริมการเผยแผ่อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการศึกษานี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการปรับตัวให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมและเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล พร้อมทั้งเสนอแนะกลยุทธ์ที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษและยกระดับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนในระดับนานาชาติ

บรรณานุกรม

กนิฐา แสงกระจ่าง และณมน จีรังสุวรรณ. (2560). แหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิดสำหรับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 6(1), 19–28. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/74708
เกวลิน ศีลพิพัฒน์, และนิตยา เงินประเสริฐศรี. (2555). ศูนย์วิทยบริการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดกระบี่: ประสิทธิผลและทิศทางการพัฒนาในอนาคต. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 38(2), 30–44. สืบค้นจาก https://so04.tcithaijo.org/index. php/socku/article/view/80021
นิฐิภรณ์ สถาพรพิสิฐนา, พนิดา จารย์อุปการะ, และณรงค์ พันธุ์คงนิฐิภรณ์. (2566). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์โดยใช้ภาระงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการฟังภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาครู. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 18(1), 9–21. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/266073
ปณัชญา ลีลายุทธ และรังษี สุทนต์. (2563). นวัตกรรมการสื่อสารธรรมะผ่านแอปพลิเคชันพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท). วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 16(2), 113-128. available at: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/242461
ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี และวีรนุช พรมจักร. (2567). กลยุทธ์การขับเคลื่อนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในบริบทความเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่เพื่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายของคณะสงฆ์. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 4(1), 73-87. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jpsmbu/article/ view/267851/ 179267
ประยงค์ อ่อนตา. (2561). การสอนในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารปัญญาปณิธาน 3(2), 15-26. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PPJ/article/view/216227/150229
ปารินันท์ ปางทิพย์อำไพ, พระมหาเสรีชน พันธ์ประโคน และ พระธรรมวชิรจินดาภรณ์. (2567). ภาษาอังกฤษสำหรับพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(12), 1–10. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/278376
พระครูวินัยธรปัญญา ปญฺญาวโร (ศรีสมุทร) และบุญเตือน ทรัพย์เพชร (2564). การจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนายุคดิจิทัล. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 423–433. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/249930
พระครูวินัยธรวุฒิไกร อภิรกฺโข, พระณัฐวุฒิ พันทะลี, พระครูใบฎีกาเดชา นามวงษา และอานันท์ กรมน้อย. (2567). การปรับตัวและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในสังคมยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการพระพุทธศาสนาเขตลุ่มแม่น้ำโขง, 7(2), 33–45. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bmrj/article/view/274039
พระประสาน ชยาภิรโต (อร่ามวาณิชย์), บุญร่วม คำเมืองแสน และพระมหาพจน์ สุวโจ. (2564). โอวาทปาฏิโมกข์กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 26(2), 216–229. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/254541
มยุรี สวัสดิ์เมือง, ขวัญฤทัย บุญยะเสนา, สุจิรา ไชยกุสินธุ์, สุวีณา รุ่งโรจน์รัตนากร, Peter Ajonghakoh Foabeh, สุนทรา เฟื่องฟุ้ง. (2567). การเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและการฝึกปฏิบัติจริง สำหรับนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ, 8(3) 16-31. สืบค้นจาก https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/ 2566/2541
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2550). พระไตรปิฎก ฉบับภาษาไทย เล่มที่ 4: วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
อภิญญา โพธิ์ชัย. (2567). การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชัยภูมิ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 11(4), 158–171. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/ 271065
Cao, Q. (2024). Blended Learning of College English in the Digital Age. Region-Educational Research and Reviews, 6(2), 22-25. DOI:10.12238/rerr. v6i2.1659
Vergara-Burgos, M., & Anthony, J. E. S. (2024). Digital Literacy and Language Learning: The Role of Information Technology in Enhancing English Proficiency. American Journal of Education and Technology (AJET), 3(4), 86-91. https://journals.e-palli.com/home/index.php/ajet
เผยแพร่แล้ว
2025-04-03