การศึกษาวิเคราะห์พุทธวิธีการสอนที่ปรากฏในสารัตถะ แห่งคัมภีร์มิลินทปัญหาสู่การถ่ายทอดผ่านสื่อสมัยใหม่

  • จันทรัสม์ ตาปูลิง วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สรวิชย์ วงศ์สอาด วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ณฤณีย์ ศรีสุข วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระปลัดธวัชชัย ขตฺติยเมธี วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุชัย สิริรวีกูล วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
คำสำคัญ: พุทธวิธีสอน, คัมภีร์มิลินทปัญหา, สื่อสมัยใหม่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของคัมภีร์มิลินทปัญหา 2. วิเคราะห์พุทธวิธีการสอนที่ปรากฎในสารัตถะแห่งคัมภีร์มิลินทปัญหา 3. นำเสนอพุทธวิธีการสอนที่ปรากฎในสารัตถะแห่งคัมภีร์มิลินทปัญหาผ่านสื่อสมัยใหม่ งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเน้นกระบวนการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Research) ได้แก่ เอกสารชั้นปฐมภูมิ (Primary Source)  และเอกสารชั้นทุติยภูมิ (Secondary Source) ทำการรวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูล  ผลการวิจัยพบว่า

1. ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของคัมภีร์มิลินทปัญหา พบว่า คัมภีร์มิลินทปัญหาเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาลในดินแดนบาคเตรีย ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าและวัฒนธรรม ระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออก คัมภีร์บันทึกการสนทนาธรรมระหว่างพระเจ้ามิลินทร์ กษัตริย์เชื้อสายกรีก ผู้ทรงสนใจปรัชญา กับพระนาคเสน พระภิกษุผู้ทรงปัญญา การสนทนาเน้นการตั้งคำถามเชิงลึก เช่น เรื่องตัวตน การเกิดดับ และการเวียนว่ายตายเกิด การตอบคำถามใช้เหตุผล การเปรียบเทียบ และการแยกแยะประเด็น ทำให้ธรรมะที่ซับซ้อนเข้าใจได้ง่าย 

2. วิเคราะห์พุทธวิธีการสอนที่ปรากฏในสารัตถะแห่งคัมภีร์มิลินทปัญหา พบว่ามีลักษณะเด่น ได้แก่ การใช้อุปมาอุปไมย การแยกแยะประเด็น (วิภัชวาท) การถามย้อน (วิภาษวิธี) และการอธิบายธรรมะโดยใช้ตัวอย่างใกล้ตัว เน้นการพัฒนาปัญญาผ่านการคิดวิเคราะห์ ความสำคัญของ วิธีการเหล่านี้คือการเผยแผ่ธรรมะให้เข้าใจง่ายและเข้าถึงคนในวัฒนธรรมต่าง ๆ

3. การนำพุทธวิธีการสอนที่ปรากฏในสารัตถะแห่งคัมภีร์มิลินทปัญหา ผ่านสื่อสมัยใหม่ พบว่า คัมภีร์
มิลินทปัญหาเน้นพุทธวิธีการสอนสามรูปแบบหลัก ได้แก่ วิภัชวาท (แยกประเด็น), อุปมา (เปรียบเทียบ), และปฏิปุจฉา (ถามโต้กลับ) โดยการนำเสนอผ่านสื่อดิจิทัล ได้แก่ E-book ที่แทรกภาพและวิดีโอ, YouTube วิดีโอถาม-ตอบและฉากจำลอง และ เว็บไซต์ที่ออกแบบ UX/UI ใช้งานง่าย การบูรณาการพุทธวิธีการสอนเข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัลช่วยให้การเรียนรู้ธรรมะเป็นระบบ เข้าใจง่าย และเข้าถึงได้อย่างแพร่หลายมากขึ้น

 

บรรณานุกรม

ธนวพร เรืองสกุล (แปล). (2559). มิลินทปัญหา: กษัตริย์กรีกถาม-พระเถระตอบ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ปัญญาพลัส.
ธรรมเจดีย์. (2563). มิลินทปัญหา: ปริศนาธรรมในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมสภา.
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2539). มิลินทปัญหา อฏฺฐกถา-ฎีกา ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: วิญญาณ.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2566). พุทธวิธีการสอนของพระพุทธเจ้า. {ออนไลน์}, แหล่งที่มา:https://www.payutto.net/book-content/, {6 ตุลาคม 2566}.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เผยแพร่แล้ว
2025-03-30