ปัจจัยที่มีผลต่อการดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
บทคัดย่อ
การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาปีที่ 3 สาขาวิชาการปกครอง และเพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาปีที่ 3 สาขาวิชาการเมืองการปกครอง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสํารวจ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ นักศึกษาสาขาวิชาการเมืองการปกครอง ชั้นปีที่ 3 จำนวน 21 คน โดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม มีการวิเคราะห์ข้อมูลออกมาเป็นค่าความถี่ค่าร้อยละ,ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของนักศึกษาสาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ด้านสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอันดับแรกคือปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมส่งผลให้คุณดื่มแอลกอฮอร์โดยการดื่มแอลกอฮอร์เพราะความสนุกสนานอยู่ในระดับน้อยที่สุด ดื่มแอลกอฮอร์เพราะมีคนชักชวนอยู่ในระดับน้อยที่สุดล, ดื่มแอลกอฮอร์เพื่อเข้าสังคมอยู่ในระดับน้อยที่สุด,ปัจจัยด้านครอบครัวส่งผลให้คุณดื่มแอลกอฮอร์อยู่ในระดับน้อยที่สุด, การได้รับบาดเจ็บจากการดื่มแอลกอฮอร์อยู่ในระดับน้อยที่สุด ดื่มแอลกอฮอร์เพราะเจอปัญหารุมเร้าอยู่ในระดับน้อยที่สุด, รู้สึกกระวนกระวายหรือไม่หากไม่ได้ดื่มแอลกอฮอร์อยู่ในระดับน้อยที่สุด, การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์บ่อยเพียงใดอยู่ในระดับน้อยที่สุดและการดื่มแอลกอฮอร์เพราะโดนเพื่อนบังคับอยู่ในระดับที่น้อยที่สุด
บรรณานุกรม
สมพร สิทธิสงคราม. (2549). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น. พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Manuela Bina. (2012). Drinking motives and alcoholic beverage preferences among Italian adolescents. Addictive Behaviors, 35 , 823–831.
Saengdam, N. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดื่มของเยาวชนในประเทศไทย. วารสารสุขภาพชุมชน, 20(2), 123-135.