พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียน เรื่องสถาบันทางสังคมโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสามัคคีวิทยาทาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

  • ศุภิสรา หยอมวิไล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • พระมหาวีรศักดิ์ สุรเมธี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • ตระกูล ชำนาญ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
คำสำคัญ: คำสำคัญ: 1. การสอนแบบร่วมมือ; 2. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้; 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและทดสอบประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษาของนักเรียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่องสถาบันทางสังคมโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสามัคคีวิทยาทาน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสามัคคีวิทยาทาน อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (ฝ่ายพระปริยัติธรรม) โดยเลือกแบบเจาะจง (Specific sample group) รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental research) ด้วยวิธีการใช้กลุ่มทดลองเดี่ยวเพื่อวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One group Pretest – Posttest) การหาประสิทธิภาพของเครื่องมือในการวิจัยมี 3 ชุด ได้แก่ 1) แผนการจัดเรียนรู้ 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และสถิติทดสอบค่า t-test) แบบ Dependent Sample.

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการทดสอบประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 80.26/86.02 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้คือ 75/75 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง สถาบันทางสังคม โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบร่วมมืออยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38

บรรณานุกรม

มะลิวรรณ อินโต. (2566). การสอนแบบร่วมมือเรื่องความเป็นไทยสาระหน้าที่พลเมืองเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 7 จังหวัดสุพรรณบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
โรงเรียนสามัคคีวิทยาทาน วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร. (2566). ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ปีการศึกษา2565 - 2566. โรงเรียนสามัคคีวิทยาทาน วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร.
วิภาพรรณ พินลา และคณะ. (2561). การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2558). รูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 4(1): 81-99.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). วิธีการเรียนรู้แบบนี้จะมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะและกระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อรณา นรพงษ์. (2566). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. วารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์. 1(2): 1-15.
อัญชนา พรหมเพ็ญ. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ด้านการเรียนรู้แบบร่วมมือและว่าการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. วารสารการบริหารจัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น. 5(4): 76.
เผยแพร่แล้ว
2025-03-29