บทบาทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในยุคดิจิทัล

  • พระครูโกวิทอรรถวาที - มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน
  • จันทรัสม์ ตาปูลิง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน
  • พระปลัดธวัชชัย ขตฺติยเมธี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน
คำสำคัญ: การเผยแผ่พระพุทธศาสนา, พระสงฆ์, ยุคดิจิทัล เทคโนโลยี, สื่อออนไลน์

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคดิจิทัล ซึ่งถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเทคโนโลยีและสื่อออนไลน์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้คน พระสงฆ์จึงต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว บทความนี้ศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการเผยแผ่พระธรรมผ่านสื่อดิจิทัล เช่น โซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ และแอปพลิเคชัน เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงความท้าทายที่เกิดขึ้น เช่น การขาดความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี การเผชิญกับข้อมูลเท็จ และการแข่งขันในสื่อออนไลน์ บทความยังเสนอแนวทางพัฒนาบทบาทของพระสงฆ์ เช่น การอบรมทักษะด้านดิจิทัล การสร้างเครือข่ายพระสงฆ์ออนไลน์ และการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมเพื่อรักษาคุณค่าและสาระของพระพุทธศาสนา

บรรณานุกรม

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539).พระไตรปิฎก (ภาษาไทย) ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พจนารถ สุพรรณกุล. (2557). การเผยแผ่พระพุทธศาสนากับเทคโนโลยีสารสนเทศ. จาก http://phd.mbu.ac.th/index.php/2014-08-28-08- 57-4/106-2014-09-2008-27-56.
พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิิต. (2555). รูปแบบการสร้างเครือข่ายการแผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช.
พระครูสังฆรักษ์พิทยา ญาณธโร (ปิยวรากุล). (2561). ศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุค ดิจิทัล. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ. (2547). วิพากษ์แนวคิดพระพุทธศาสนาสำหรับโลกหลังยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อรวรรณ วงศ์แก้วโพธิ์ทอง. Social Media เครื่องมือเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ. วารสารนักบริหารมหาวิทยาลัยกรุงเทพ. (30)4, 63-69.
เผยแพร่แล้ว
2025-03-10