การศึกษาสุขภาพจิตของนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 ภาคปกติคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

  • พัชรี มงคลปัญญากุล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • เขมาพร สุนิธิมงคลชัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • พระสถิต ถิรจิตฺโต (จ่าหลิ่ง) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • อัญชลี แสงเพชร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
คำสำคัญ: สุขภาพจิต, นักศึกษาปริญญาตรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องการศึกษาสุขภาพจิตของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ภาคปกติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสุขภาพจิตของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ภาคปกติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของนักศึกษาฯ และ 3) เพื่อศึกษาเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตของนักศึกษาฯ โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ นักศึกษาที่ชั้นปีที่ 3 สาขาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา จำนวน 21 คน โดยใช้แบบสอบถามเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

สุขภาพจิตของนักศึกษาอยู่ในระดับดี ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพจิต เช่น ความรู้สึกพึงพอใจในชีวิต ความรู้สึกกังวลใจ ปัญหาส่วนตัว เพื่อนรอบข้าง การเรียน และข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา เช่น การเสริมสร้างกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกสดชื่นและมีความพึงพอใจในชีวิต เช่น การทำกิจกรรมกลุ่ม การให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา และการฝึกทักษะการจัดการอารมณ์ดังนั้นทำให้เห็นว่าการศึกษาครั้งนี้มันส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยของนักศึกษาโดยเฉพาะชั้นปีที่ 3 ภาคปกติ ที่ทำการศึกษาเรื่องสุขภาพจิตเป็นต้น

บรรณานุกรม

กันยา สุวรรณแสง.(2544). จิตวิทยาทั่วไป.กรุงเทพฯ:อักษรพิทยาการพิมพ์.
คณิตานิจจรัลกุล.(2550). คุณลักษณะยุทธศาสตร์การสอนและปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นครูสอนภาษาไทยดีเด่นในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคใต้ของประเทศไทย.วารสารสงขลานครินทร์, 9(3), 295-305.
ฉันทนาแรงสิงห์. (2556). ผลของโปรแกรมกลุ่มให้คำปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผลอารมณ์และพฤติกรรมต่อระดับภาวะซึมเศร้าของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา.วารสารพยาบาลและการศึกษา, 6(2), 29-41.
ภัคพิชา แก่นเพ็ชร์. (2544).การศึกษาปัญหาการปรับตัวและสุขภาพจิตของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
ภัคพิชา แก่นเพ็ชร์. (2542). การศึกษาปัญหาการปรับตัวและสุขภาพจิตของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
วรพล ปุญญมัย. (2551). สุขภาพจิตและการเลือกคบเพื่อนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายอำเภอเมือง จังหวัดน่าน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุรชัย ปัญญาพฤทธิ์พงศ์. (2565). ทำอย่างไรให้คุณภาพชีวิตดี;กรมสุขภาพจิต.(ออนไลน์). https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2486&utm_source=chatgpt.com. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2568.
สุรีย์ ชูประทีป และคณะ. (2547). สุขภาพจิตของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: รายงานวิจัยMental health of science students at Chiang Mai University.ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เยาวลักษณ์วงศ์พรหม. (2549).ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Giorgi, G., et al. (2021).The impact of COVID-19 pandemic on mental health of workers: A systematic review and meta-analysis. Journal of Occupational Health Psychology, 26(3), 235-246.
World Health Organization (WHO). (2022).Mental health and COVID-19: Early evidence of the pandemic’s impact. https://www.who.int/publications/i/item/WHO-2019-nCoV-Sci_Brief-Mental_health-2022.1. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2568.
Xiong et al. (2020).Impact of COVID-19 pandemic on mental health in the general population: A systematic review. 277, 55-64.
เผยแพร่แล้ว
2025-03-09