การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำพื้นฐาน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบันได 6 ขั้น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านนามน อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียน คำพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านนามน ตามเกณฑ์มาตรฐาน 85/85 2) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำพื้นฐาน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบันได 6 ขั้น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านนามน ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบันได 6 ขั้น กลุ่มทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง ด้วยวิธีการใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว เพื่อวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ S.D. ร้อยละ และสถิติทดสอบค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการทดสอบประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านนามน มีประสิทธิภาพ 87.65/89.13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 2) ผลการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำพื้นฐาน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบันได 6 ขั้น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านนามน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบันได 6 ขั้น อยู่ในระดับมาก = 3.70
บรรณานุกรม
กาญจนา ชลเกริกเกียรติ. (2561). การพััฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยโดยใช้้แบบฝึกทักษะสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. (รายงานการวิจัย). สุราษฎร์ธานี : โรงเรียนวัดบ่อมะปริง
จิติมา วรรณศรี. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือ ทางวิชาการของโรงเรียนในถิ่น ทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 18(4). 114 - 126.
จุฑามาศ ศรีใจ และอ้อมธจิต แป้นศรี. (2565). การพัฒนาทักษะการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทย โดยใช้บทเรียนการ์ตูนร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 วารสารวิจัยวิชาการ 5(1). 243 - 256.
เบญจมินทร์ คนไว. (2565). การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนสะกดคำเรื่องคำพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานประกอบแบบฝึกทักษะ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. ว.มรม. 16(3).28-36
พัชรินทร์ ด้วงเฟื่อง. (2556). การพัฒนาทักษะการเขียนเล่าเรื่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พิชชาอร มินทยักษ์.(2565). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญและการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบอาคิตะ ร่วมกับเทคนิคบันได 6 ขั้น วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 47 (2) 30 - 4
พิมลพร พงษ์ประเสริฐ.(2563). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของฮันเตอร์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภานุวัฒน์ จารุนัย และแสงเดือน คงนาวัง. (2564). การพัฒนาทักษะการอ่านคำศัพท์พื้นฐานของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ วิธีสอนอ่านแจกลูกสะกดคำ ร่วมกับเกมทางภาษากรณีศึกษาโรงเรียนบ้านนาดี ตำบลพังงู อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6(7).130 - 141.
ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 16(2). 132 - 144.
วรรณภา ไชยวรรณ (2562). การพัฒนาแผนการอ่านภาษาไทย เรื่อง อักษรควบและอักษรชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์สาร. 16(2). 132 -144.
ศิริพร ลี้รชตาสุวรรณ. (2557). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยด้วย วิธีอ่านแบบโอเคไฟว์อาร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสันกำแพง. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศุภิสรา บุตรวัน และวสันต์ สรรพสุข. (2565). การพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียงและการเขียนคำควบกล้ำ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารครุศาสตร์สาร. 16(2). 132 - 144
สมเกียรติ อินทสิงห์. (2559). การพัฒนาหลักสูตรการคิดสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปที่เน้นการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (EDKKUJ). 42(3). 37 - 53.
สายใจ ทองเนียม. (2560). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : ชีเอ็ดยูเคชั่น
อรพรรณ ตู้จินดา. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุของการบริหารสถานศึกษาที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 18(1) 263 - 276.