การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาที่สองของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง

  • อนุสรณ์ อนันต์วิไล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • วีรชน จันทร์ยวง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • จิรกฤต อินตายวง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
คำสำคัญ: 1.การสอนภาษาไทย ; 2.ชาติพันธุ์ม้ง ; 3.สื่อรูปภาพ

บทคัดย่อ

             การสอนภาษาไทยดูเป็นเรื่องปรกติทั่วไปสำหรับคนไทยที่ใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน ซึ่งไม่ใช่อุปสรรคสำคัญที่จะเรียนรู้การอ่านการเขียนภาษาไทย แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วในประเทศไทยยังมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย อาศัยอยู่ร่วมกันในประเทศไทย ร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะกลุ่ม  ชาติพันธุ์ม้ง ซึ่งในประเทศไทยมีจำนวนมากกว่า 150,000 คน โดยกระจายตัวอาศัยอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ เช่น จังหวัดตาก จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย ซึ่งมีประชากรชาติพันธุ์ม้งอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ในหลายพื้นที่ที่มีการก่อตั้งโรงเรียนนั้นมีจำนวนนักเรียนทั้งหมดเป็นนักเรียน           ชาติพันธุ์ม้ง การสอนภาษาไทยจึงเป็นการสอนในฐานะภาษาที่สองสำหรับนักเรียนในกลุ่มนี้ เนื่องด้วยนักเรียนใช้ภาษาม้ง (Hmong language) เป็นภาษาหลักในชีวิตประจำวัน การสอนภาษาไทยโดยใช้สื่อรูปภาพในชีวิตประจำวันของนักเรียนเข้ามาร่วมบูรณาการด้วยสามารถช่วยให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนและมีภาพจำเนื้อหาที่คงทนถาวร

บรรณานุกรม

สถาบันวิจัยชาวเขา. (2541). ชาวเขาความเข้าใจกับชนเผ่าต่างวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: ชมรมบรการวิชาการ สถาบันวิจัยชาวเขา.
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ชนเผ่าม้ง (HMONG). https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1795&code_db=610004&code_type=05
สุมิตรา อังวัฒนากุล. (2540). วิธีสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เผยแพร่แล้ว
2025-02-27