แนวทางเสริมสร้างการปฏิบัติตามหลักสังคหวัตถุของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

  • พระมหาปุณณ์สมบัติ บุญเรือง คณะพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขล้านนา
  • พระมหาเจริญ กระพิลา คณะพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขล้านนา
  • พระทศพล โสภาอินทร์ โรงเรียนเมตตาศึกษาในพระราชูปถัมภ์
  • สมิตไธร อภิวัฒนอมรกุล คณะพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขล้านนา
คำสำคัญ: การเสริมสร้าง, สังคหวัตถุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักสังคหวัตถุตามคัมภีร์ทางพุทธศาสนาและผู้รู้ทั้งหลาย 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติตามหลักสังคหวัตถุของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางเสริมสร้างการปฏิบัติตามหลักสังคหวัตถุของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิธีการเก็บข้อมูลภาคสนาม  เลือกกลุ่มศึกษา/ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา จำนวน 10 รูป/คน เพื่อสอบถามสภาพสิ่งแวดล้อมและนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า

1.หลักสังหควัตถุเป็นหลักธรรมขั้นพื้นฐานที่เชื่อมโยงหรือประสานโลกและคนในสังคมในการอยู่ร่วมกับสังคมมอย่างมีพื้นที่ความสุขและทำให้เป็นพลวัตสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมไปในทิศทางที่เหมาะสม

2.นักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ส่วนมากได้ปฏิบัติตามหลักสังคหวัตถุอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะข้อการให้ทานด้วยการเสียสละแบ่งปัน การเอื้อเฟื้อเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

3.แนวทางเสริมสร้างการปฏิบัติตามหลักสังคหวัตถุนั้น ควรจะกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่สอดคล้องกับหลักสังคหวัตถุธรรมด้วยการใช้กิจกรรมที่หลากหลายและเหมาะสม อันจะสอดรับกับเนื้อหาและกิจกรรมในแต่ละวัย ซึ่งก็รวมถึงการทำอย่างต่อเนื่องและสร้างคนคุณธรรมต้นแบบด้วยในเวลาเดียวกันเพื่อให้เกิดการขยายอุปนิสัยที่ดีเหล่านี้ส่งต่อไปยังสังคมและคนรอบข้าง

บรรณานุกรม

ธิดารัตน์ ศิละวรรณโณ. (2553). ความคิดเห็นของพนักงานส่วนตำบลต่อการบริหารงานขอองค์การบริหารส่วนตำบลตำมหลักสังคหวัตถุ 4 : กรณีศึกษา อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
นายไพศาล ชัยธีราศักด์ (2564) . การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการประกอบกิจการขายประกันชีวิตในจังหวัดแพร่. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
บัญชายุทธ นาคมุจลินท์ (2556). วิเคราะห์การบริหารองค์กรในการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาของศูนย์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาประจำจังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎีบัญฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิทักษ์ ศักดิ์ซ้ายดา. (2555). กำรบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลนำโพธิ์ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พระปิยะพงศ์ ธมฺมจาโร (สารคร) (2556). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการบริหารงานของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตร มหาบัณฑิต, สาขารัฐศาสตร์การปกครอง, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระครูประภัศร์ธรรมาภิรักษ์ (จันเขียด) (2562). การบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเดชา กิตฺติโก (โชติธราธรรม) (2556). การบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนธรรมภิรักษ์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภาพร ชนะสุข (2564). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
มณีนุช ไพรดี, (2553). การนำหลักสังคหวัตถุ 4 ไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัทพรอพเพอร์ตี้แคร์เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย). วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อุไร จั้งโล่ง. (2555). การใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในกำรทำงานของหัวหน้ำหอผู้ป่วยและพยาบาล ประจำการโรงพยาบาลศูนย์ภาคใต้. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชา บริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พรกมล ชูนุกูลพงษ์, (2555). การให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง, พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูประดิษฐ์สมณคุณ (2556). การนำหลักสังคหวัตถุธรรมในกำรปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรเทศบาลตำบลจตุรพักตร์พิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รภัสสา พานิกุล, (2553). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการจัดหางานของรัฐตามหลักสังคหวัตถุ 4 :กรณีศึกษาศูนย์จัดหางานกรมการจัดหางานกระทรวงแรงงาน, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.


ชัชพงศ์ เทียมทันวณิช. (2561). การนำหลักสังคหวัตถุธรรม 4 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน บ้านห้องพอก ตำบลน้ำคำใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี. 9(2). หน้า 217–222.
จักรวาล สุขไมตรี. (2562). การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตะพง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. Ratchaphruek Journal. 17(2). หน้า 105–111.
พระครูประสุตโพธิคุณ (สุวรรณรงค์).( 2559). การนำหลักสังคหวัตถุ 4 ไปใช้ในวิถีชีวิตของประชาชนใน ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขต นครศรีธรรมราช, วารสาร มหาจุฬานาครทรรศน์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2559), หน้า 1.
ไสว มาลัยทอง.(2542). คู่มือการศึกษาจริยธรรมสำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา นักการบริหารผู้ปกครอง และประชาชนผู้สนใจทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กระทรวงศึกษาธิการ. หน้า 54.
อนันต์ แม้นพยัคฆ์.(2549). การการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้วย กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต กรณีศึกษา: บ้านหนองน้ำจืด ตำบลท่าพริก อำเภอเมือง จังหวัดตราด. ปทุมธานี : ธรรมศาสตร์. หน้า 29.
เผยแพร่แล้ว
2024-05-29