บุหงาบุญพา : การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากดอกกุหลาบเหลือทิ้งโดยใช้ทักษะวิศวกรสังคมเป็นฐานของชมรม LPRU สืบสานปณิธานงานของพ่อ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ส่งเสริมสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนวัดศรีล้อม (2) เพื่อให้เยาวชนและคนในชุมชนเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของโบราณสถานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และ (3) เพื่อลดปัญหาดอกกุหลาบเหลือทิ้งภายในบริเวณวัดศรีล้อม ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง โดยใช้ทักษะวิศวกรสังคมของชมรม LPRU สืบสานปณิธานงานของพ่อ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางเป็นฐาน เป็นวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจและมีการจัดกิจกรรมในการส่งเสริมศักยภาพให้กับชาวบ้านในชุมชนวัดศรีล้อม
ผลการวิจัยพบว่า ผลิตภัณฑ์บุหงาบุญพาที่นำเอาดอกกุหลาบเหลือทิ้งมาสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการทำเป็นบุหงาบุญพาเพื่อเสริมสร้างรายได้ให้กับชุมชนวัดศรีล้อมโดยใช้ทักษะวิศวกรสังคมเป็นฐาน ผู้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 104 คน ซึ่งมีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินฯ ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดในเรื่องสามารถนำความรู้ ความเข้าใจ นำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน (ค่าเฉลี่ย 4.20) รองลงมาคือ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติได้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน และสามารถนำความรู้ความเข้าใจและทักษะที่ได้รับไปถ่ายทอด ขยายผลและเผยแพร่แก่ผู้อื่นได้ (ค่าเฉลี่ย 4.17 และ 4.14) ตามลำดับคนในชุมชนวัดศรีล้อมสามารถนำเอาผลิตภัณฑ์บุหงาบุญพาสร้างรายได้ให้กับตนเองเยาวชนและคนในชุมชนเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของโบราณสถานสิ่งศักดิ์สิทธิ์และดอกกุหลาบเหลือทิ้งภายในวัดศรีล้อมมีจำนวนที่ลดลง และพร้อมเป็นโมเดลต้นแบบด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่อไป
บรรณานุกรม
มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี(2565).กระบวนการพัฒนา Soft Skills (ทักษะวิศวกรสังคม) มหาวิทยาลัยราชภัฎ. ผ่านระบบออนไลน์ [ https://www.trueplookpanya.com/ ]. 1 เมษายน 2567.
สุภาพิชญ์ ถิระวัฒน์. (2565). ร้อยเรื่องเมืองไทย. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา.วันที่ออกอากาศ : 2565-05.