การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ โดยใช้แอปพลิเคชัน Echo English โดยวิธีการจัดการเรียนรู้เเบบเชิงรุก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสามัคคีวิทยาทาน

  • กมล เกตุรัตนสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • พระพิทักษ์ แฝงโกฎิ มมร.ล้านนา
  • พระมหาพิเศษ สุขสมาน
คำสำคัญ: การพัฒนาทักษะการฟัง, การจัดการเรียนรู้เเบบเชิงรุก, แอปพลิเคชัน Echo English, Listening Skills Development, Active Learning Management, Echo English Application

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ โดยใช้แอปพลิเคชัน Echo English ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสามัคคีวิทยาทาน ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แอปพลิเคชัน Echo English กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสามัคคีวิทยาทาน โดยการสุ่มอย่างง่าย รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง ด้วยวิธีการใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว เพื่อวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t-test แบบ Dependent Sample

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสามัคคีวิทยาทาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) นักเรียนมีความเห็นต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แอปพลิเคชัน Echo English มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด

บรรณานุกรม

ชายุดา จันทะปิดตา. (2555). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบัวหลวงวิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม., มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยา มหาดิลก ภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์ มหาสถาน อมรพิมาน อวตารสถิต สักกะ ทัตติยะ วิษณุกรรมประสิทธิ์.
มณีรัตน์ กรรณิกา และอภิราดี จันทร์แสง. (2560, กรกฎาคม). การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้รายการโทรทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด,11(2), 127-133.
รมณียา สุรธรรมจรรยา. (2558). ผลการใช้แอพพลิเคชั่นสำหรับสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษบนแท็บเล็ตวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา : บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยศิลปากร
รุ่งพนอ รักอยู่. (2559). ความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักศึกษาไทยที่ เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ : กรณีศึกษาสถาบันพลศึกษาในเขตภาคกลาง. (ปริญญา
วิลดา ศรีทองกุล (2562). การพัฒนาทักษะการฟัง-พูดในวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ โดยใช้แอปพลิเคชัน Echo English ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา, บัณฑิตวิทยาลัย.
ศุภวรรณ เทวกุล. (2556). การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้สื่อประสม. (ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยรังสิต.
สถาบันภาษาอังกฤษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). คู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล. องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สุนันทา กสิวิวัฒน์ (2557). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. , กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยา มหาดิลก ภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์ มหาสถาน อมรพิมาน อวตารสถิต สักกะ ทัตติยะ วิษณุกรรมประสิทธิ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
Doff, A. (2001). Teaching English: A training course for teachers. (14th Ed.). Cambridge England: Cambridge University Press.
Eady, M. J. & Lockyer, L. 2013, 'Tools for learning: technology and teaching strategies', Learning to Teach in the Primary School, Queensland University of Technology, Australia. pp. 71
Gilakjani, A., & Ahmadi, A. (2011). A study of factors affecting EFL learners' English listening comprehension and the strategies for improvement. Journal of Language Teaching and Research, 2(5), 977-988.
เผยแพร่แล้ว
2024-09-28