การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ จาก E-book โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลบ้านท่อเมืองลัง

  • อาฟู อุดมธัญญกิจ มมร.ล้านนา
  • พิรุณ จันทวาส
คำสำคัญ: การอ่านออกเสียง, คำศัพท์, ภาษาอังกฤษ, สมองเป็นฐาน, Oral Reading, Vocabulary, English, Brain-Based Learning

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนป่าแป๋วิทยา ก่อนเรียนและหลังเรียน2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนป่าแป๋วิทยา โดยการสุ่มอย่างง่าย รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง ด้วยวิธีการใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว เพื่อวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และสถิติทดสอบค่า t-test แบบ Dependent Sample

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนป่าแป๋วิทยา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) อยู่ในระดับมากที่สุด

บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2564. จาก https://shorturl.asia/3sE5P
ทรายแพรว ไชยมัชชิม. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง น้ำเพื่อชีวิตและอากาศรอบตัวเรา กลุ่มสาระกาเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พัชรมน ผลประพฤติ. (2565). การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ เรื่อง สินค้าและบริการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน). จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
พัชรินทร์ สินจะโปะ และ เจษฎา กิตติสุนทร. (2562). การศึกษาความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
พิมภรณ์ พวงชื่นและ วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและสะกดคําภาษาอังกฤษด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิค สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 6(1), 19-29.
ภริตา การะภาพ. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน(Brain-Based Learning : BBL) ร่วมกับการใช้สื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รัชดากาญจน์ ใยดี. (2565). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงแบบโฟนิกส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโนนตารอด จังหวัดกำแพงเพชร. หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
รัตน์วิสาณ งามสม. (2560). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและวิธีสอน, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ลลิดา ทองรัตน์. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษด้วยโฟนิกส์ ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ (Devies) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม]. https://shorturl.asia/hNZmI
วนัชภรณ์ ปึ่งพรม และ กัญญารัตน์ โคจร. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษตามแนวคิดสมองเป็นฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน). หน้า 93 – 94.
อัจจิมา ไชยชิต. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงสะกดคำภาษาอังกฤษ (Phonics) โดยใช้แบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. [สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2567]. แหล่งที่มา https://shorturl.asia/qGmwj
เผยแพร่แล้ว
2024-09-28