การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Capital Letter โดยใช้ซิปปาโมเดล (CIPPA Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดป่าตัน

  • นางสาวอารียา เมืองมูล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • พระพิทักษ์ ฐานิสฺสโร มมร.ล้านนา
คำสำคัญ: การเขียน, ซิปปาโมเดล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนภาษาอังกฤษ Capital Letter โดยใช้ซิปปาโมเดล (CIPPA Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดป่าตัน ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ซิปปาโมเดล (CIPPA Model) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดป่าตัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t-test แบบ Dependent Sample

  ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์เขียนภาษาอังกฤษ Capital Letter โดยใช้ซิปปาโมเดล (CIPPA Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดป่าตัน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ซิปปาโมเดล (CIPPA Model) อยู่ในระดับมากที่สุด

บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2564. จาก https://shorturl.asia/3sE5P
ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพมหานคร : ด่านสุทธาการพิมพ์.
บุรัสกร ธรรมขันธ์. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA MODEL ร่วมกับ แอพพลิเคชั่น Plickers สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 [ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ผกามาศ เยาวเรศ. (2561). การพัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา [ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
วราพรรณ ภู่พันธ์ และสุดคนึง นฤพนธ์จิรกุล. (2566). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้ชุดกิจกรรมการเขียนภาษาอังกฤษผ่านแอปพลิเคชันสำหรับนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 6(19), 104-106
ศศิภา พรหมมินทร์. (2564). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยการใช้เทคนิคการเขียนแบบกึ่งควบคุม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุภาวดี ยอดไสว, สริตา บัวเขียว และยุพิน ยืนยง. (2565). การพัฒนาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีการสอนแบบ B-SLIM model ร่วมกับเทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 50(1), 2-4.
สุมาลี คำสว่าง. (2561). การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปาร่วมกับรูปแบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 [ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
อนันตกานต์ ภูถ้ำแก้ว. (2559). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 3P ประกอบแบบฝึกทักษะ [ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อัจฉรา จันทชุม. (2561). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร [ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
เผยแพร่แล้ว
2024-06-06