คุณค่าของผลงานวรรณกรรมบาลีของพระสิริมังคลาจารย์

  • จุมพล สุยะต๊ะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • จตุภูมิ แสนคํา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
  • พระพงษ์ระวี อุตฺตรภทฺโท (โหลิมชยโชติกุล) คณะพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขล้านนา
คำสำคัญ: คุณค่า; ผลงานวรรณกรรมบาลี; พระสิริมังคลาจารย์

บทคัดย่อ

          บทความนี้มุ่งนำเสนอคุณค่าของผลงานวรรณกรรมบาลีของพระสิริมังคลาจารย์ผู้มีผลงานโดดเด่นในยุคทองของพระพุทธศาสนาในล้านนา (พุทธศตวรรษที่ 21) โดยปรากฎผลงาน 4 เรื่อง กล่าวคือ 1) เวสสันตรทีปนี 2) จักกวาฬทีปนี 3) สังขยาปกาสกฎีกา และ 4) มังคลัตถทีปนี จากการศึกษาคุณค่าของผลงาน พบคุณค่า ๓ ด้าน คือ 1) ด้านภาษา 2) ด้านสาระทางธรรม  และ 3) ด้านสังคม ด้านภาษา เวสสันตรทีปนี มีคุณค่าในฐานะคู่มือคำศัพท์ในการศึกษาเวสสันตรชาดก จักกวาฬทีปนี มีคุณค่าในการรวบรวมองค์ความรู้ด้านภูมิวิทยาของจักรวาลจากคัมภีร์ต่างๆ มังคลัตถทีปนี มีคุณค่าทางภาษาอย่างสูง จนถูกนำมาเป็นวรรณกรรมต้นแบบของบาลีในประเทศไทย โดยใช้เป็นหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย และสังขยาปกาสกฎีกา มีคุณค่าในฐานะคู่มือในการศึกษาเกี่ยวกับมาตราชั่ง ตวง วัด ส่วนด้านสาระทางธรรม เวสสันตรทีปนีมุ่งแสดงหลักธรรมของการบำเพ็ญทานบารมีในชุดปัญจมหาบริจาค จักกวาฬทีปนี มุ่งแสดงหลักธรรมเกี่ยวกับกฎแห่งกรรมและภาพรวมของไตรภูมิ มังคลัตถทีปนี มุ่งแสดงสารัตถะของพระมงคลสูตรอย่างละเอียดลึกซึ้ง จนถูกนำมาใช้เป็นคัมภีร์ต้นฉบับในการแสดงธรรม สังขยาปกาสกฎีกา แม้มิได้ปรากฏคุณค่าด้านสาระทางธรรมโดยตรง แต่ก็ช่วยทำให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาสาระของจักกวาฬทีปนีที่ว่าด้วยภาพรวมของไตรภูมิ จากคุณค่าทางด้านภาษาและสาระทางธรรมดังกล่าวมา ส่งผลให้เกิดคุณค่าทางด้านสังคมอย่างประจักษ์ชัด วรรณกรรมเหล่านี้เป็นเสมือนครูที่ผู้ศึกษาได้ยึดเป็นแบบแผนในการเรียนรู้ทั้งในแง่ของภาษาและเนื้อหาสาระ รวมถึงวิถีอัตลักษณ์ของปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาจากประวัติของผู้รจนา คุณค่าของผลงานดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงคุณูปการของผู้สร้างผลงาน กล่าวคือพระสิริมังคลาจารย์ ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นมหาปราชญ์แห่งล้านนา ผู้มีผลงานที่ทรงคุณูปการต่อการศึกษา การเผยแผ่ และการดํารงอยู่แห่ง              พระศาสนา นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

บรรณานุกรม

กรมศิลปากร. (2548). จักกวาฬทีปนี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักหอสมุดแห่งชาติ.
______. (2540). เวสสันตรทีปนี ภาคภาษาบาลี. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระเทพวัชรธรรมาภรณ์ (สุรพงส์ ฐานวโร). กรุงเทพมหานคร : สำนักราชเลขาธิการ.
______. (2540). เวสสันตรทีปนี ภาคภาษาไทย. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระเทพวัชรธรรมาภรณ์ (สุรพงส์ ฐานวโร). กรุงเทพมหานคร : สำนักราชเลขาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2527). ประวัติการศึกษาของสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
คณะกรรมการแผนกตำราและวิชาการ. (2555). มงฺคลตฺถทีปนี (ปฐโม ภาโค). พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฎราชวิทยาลัย.
______.(2558). มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฎราชวิทยาลัย.
คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2550). วรรณคดีบาลี. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ฉัตรยุพา สวัสดิพงษ์. (2538). วรรณกรรมท้องถิ่นล้านนา. กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์.
บุญหนา สอนใจ. (2523). “สังขยาปกาสกปกรณ์และฎีกา : การตรวจชำระและการศึกษาเชิงวิเคราะห์”. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาบาลีและสันสกฤต). บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระจักรกฤษณ์ ธีรธมฺโม. (2558). “ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องเทวดาในคัมภีร์จักกวาฬทีปนี” ในวารสารพุทธ ศาสตร์ศึกษา, หน้า 82-87.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2538). “หนังสือมงคลทีปนี” ใน ศิลปกรรมปริทรรศน์ ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 สิงหาคม : 10 .
พระอนุสรณ์ กิตติวณโณและคณะ. (2560). บทบาทการเชื่อมโยงภูมิภาคของพระสิริมังคลาจารย์ .สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่.
ลิขิต ลิขิตานนท์. (2534). วรรณกรรมพุทธศาสนาเถรวาท. เชียงใหม่ : ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
______ (2516). ยุคทองแห่งวรรณกรรมพุทธศาสนาของลานนาไทย. เชียงใหม่ : วิบูลย์การพิมพ์.
สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2533). วิวัฒนาการวรรณคดีบาลีสายพระสุตตันตปิฎกที่แต่งในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
______. (2554). จักวาฬทีปนี: ลักษณะเด่น ภูมิปัญญา และคุณค่า. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สมหมาย เปรมจิตต์ และคณะ. (2546). โครงการปริวรรตพระคัมภีร์ล้านนา. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา.
อดุลย์ คนแรง. (2541). การศึกษาเชิงวิเคราะห์มังคลัตถทีปนี. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต (จารึกภาษาไทย) มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เผยแพร่แล้ว
2024-05-29