ข้างหลังโปสการ์ด : การบันทึกโลกที่พบเห็นในมุมมองผู้หญิง ตามแนวการศึกษาวรรณกรรมการเดินทาง
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบันทึกโลกที่พบเห็นในต่างแดนในมุมมองผู้หญิงผ่านสารคดีข้างหลังโปสการ์ดของหลานเสรีไทย (136) ในฐานะวรรณกรรมการเดินทาง ด้วยกรอบแนวคิดวรรณกรรมการเดินทาง โดยใช้วิธีการวิจัยเอกสารในสารคดีท่องเที่ยว เรื่อง ข้างหลังโปสการ์ด ของหลานเสรีไทย (136) และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าประเด็นประสบการณ์เกี่ยวกับผู้คนในต่างแดน ความไม่เท่าเทียมทางเพศยังคงมีให้เห็นในสังคมที่เขาเดินทางไป และภายในสังคมนั้น ๆ มีการยอมรับในความเป็นพหุวัฒนธรรม ส่วนประเด็นประสบการณ์เกี่ยวกับสถานที่ในต่างแดน ค้นพบว่ามีประเทศที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวมักมีภูมิประเทศหรือสถานที่ที่เอื้ออำนวยต่อการท่องเที่ยว ความเป็นเมืองท่องเที่ยวทำให้มีสถานที่เปลี่ยนไปจากสภาพดั้งเดิม และประวัติความเป็นมาในทางประวัติศาสตร์ของสถานที่ท่องเที่ยวจะเป็นแหล่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญที่ต้องการนำเสนอสถานที่ในแต่ละพื้นที่ และในส่วนสุดท้ายประสบการณ์เกี่ยวกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม สังคม ในต่างแดน ได้แก่ ประเพณี ความเชื่อ ที่สืบทอดมายาวนาน การนับถือศาสนาและเทพต่าง ๆ และการใช้ภาษาในการสื่อสาร ทั้งหมดนี้สื่อให้เห็นถึงการค้นพบมุมมองใหม่ ๆ และสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ผ่านเลนส์ของนักเดินทางผู้หญิง
บรรณานุกรม
Precup, A. (2017). Mapping Femininity as Self - reflection Strategy in Lady. Tranation Literatures, Travel Theory, Literary Displacements, 93-108.
Simon, M. (2016). Barbara Bodichon's Travel Writing : Her Epistolaty Articulation of "Bildung". History of Education, 285-303.
Thomson, C. (2011). Travel Writing (The New Critical Idiom). Newyork: Routledge.
บรรณ ประลองบรรณ. (2536). การเดินทางสู่ความจริงของผู้หญิงคนหนึ่ง. บทวิจารณ์รางวัลกองทุน หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ ปี2536, 17-27.
หลานเสรีไทย(136). (2535). ข้างหลังโปสการ์ด. กรุงเทพ: อมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊พ.