การบูรณาการพุทธนวัตกรรมกับการเมืองสมัยใหม่ในสังคมไทย

  • วีรนุช พรมจักร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • ไทยปัก เลี้ยงธนารักษ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
คำสำคัญ: การบูรณาการ, พุทธนวัตกรรม,การเมืองสมัยใหม่ในสังคมไทย

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการศึกษาแนวคิดและองค์ความรู้ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบในฐานะนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาอย่างที่ยั่งยืน โดยการบูรณาการให้เข้าศาสตร์ทางการเมืองเพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังก้าวเข้าสู่การเมืองสมัยใหม่แบบโลกตะวันตกด้วยอุดมการณ์และแนวคิดแบบเสรีประชาธิปไตย ซึ่งเป็นกระบวนทัศน์ที่ทำให้ประชาชนเกิดการตื่นตัวรับรู้ประชาธิปไตยใหม่ แต่ไม่ว่าศาสตร์สาขาวิชาใดก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนและพัฒนาเพื่อการก้าวไปข้างหน้าของประเทศ พุทธศาสนาเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตในสังคมไทยเพราะสถาบันที่มีความสำคัญต่อวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของทั้งปัจเจกบุคคล และสังคมโดยส่วนรวม นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นพลังสร้างสรรค์สังคม ถ่ายทอด ปลูกฝัง วัฒนธรรมและจริยธรรมทางสังคมก่อให้เกิดความรู้สึกร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางวัฒนธรรมและความรู้สึกเป็นชาติ ระหว่างสมาชิกในสังคม นอกจากนี้ยังจะมีอิทธิพลต่อทัศนคติและค่านิยมรวมถึงมีบทบาทสำคัญในการกำหนดแนวทางความสัมพันธ์ และการกระทำต่อกันระหว่างสมาชิกในสังคมไทย ทำหน้าที่เป็นกลไกควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมอีกด้วย พุทธศาสนาไม่เพียงเกี่ยวข้องกับธรรมชาติและปัญหาทางศีลธรรมเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับความเท่าเทียมกันทางสังคมทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง ดังนั้นการนำองค์ความรู้ด้านพระพุทธศาสนาไปปรับใช้กับการเมืองสมัยใหม่ในสังคมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือ พุทธศาสนากับการเมือง คือโจทย์ที่สำคัญของนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในแวดวงด้านศาสนาและการเมืองที่ควรให้ความสนใจนำมาปรับใช้มากกว่าจะนำมาเป็นญัตติแห่งอุดมการณ์เพียงเท่านั้น และเป็นเรื่องที่เราไม่ควรมองข้ามความสำคัญ เพราะศาสตร์แห่งธรรมนั้นสอดคล้องต่อสิ่งแวดล้อมทุกชนิด และที่สำคัญคือการมองปัญหาทางการมืองสมัยต้องใช้หลักธรรมมาช่วยแก้ไขและโอกาสให้โอกาสประชาชนต่อการแสดงออกทางการเมืองอย่างสันติวิธี เราจึงต้องทำความเข้าใจและอธิบายให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างพุทธศาสนา กับการเมืองสมัยใหม่สู่วัตกรรมองค์ความรู้ทางการเมือง เป็นแนวทางสู่การพัฒนายกระดับวิชาการด้านพุทธศาสนา และศาสตร์ของการปกครองต่อไป

บรรณานุกรม

พระพรหมบัณฑิต. (2567). ปาฐกถา เรื่อง 'พุทธนวัตกรรมกับการสร้างสังคมสันติสุขอย่างยั่งยืน' ในการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 6 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 4 ปี 2567 ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วิทยาเขตขอนแก่น
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). สู่การศึกษาแนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). รู้จักพระไตรปิฎก เพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้ พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แพรวพรรณ ปานนุช และ อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2563). บทบาทของสัญลักษณ์หน้ากากกายฟอว์กส์ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของไทย. วารสารการเมืองการปกครอง, 10(1), 16-33.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (มกราคม, 1, 2545). สังคมไทยกับความเป็นมนุษย์ที่เปลี่ยนไป. มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. https://lek-prapai.org/home/view.php?id=943,1
สุรศักดิ์ ศรีธรรมกุล.(2563). การเคลื่อนไหวทางสังคมในยุคดิจิทัล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(10), 85-97.
สันต์ทัศน์ คมภีรปญโญ (สินสมบัติ) และ ชัยรัตน์ ทองสุข. (2564). พุทธศาสนากับนวัตกรรมและการวิจัย. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 7 “วิถีพุทธ วิถีชุมชน รากฐานชีวทัศน์เชิงสังคมล้านนาในสังคมวิถีใหม่” วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ณ วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เผยแพร่แล้ว
2024-09-22