การบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

  • ธีรศักดิ์ ขวัญศรีวงค์ เทศบาลนครเชียงใหม่
  • ธีระภัทร ประสมสุข มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • เสกชัย ชมภูนุช มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
คำสำคัญ: การบริหาร, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, เทศบาลนครเชียงใหม่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ และแนวทางการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร 8 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา 12 คน คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 13 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 33 คน และ ผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมภาษณ์เลือกแบบเจาะจง 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

 ผลการวิจัยพบว่า การบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการวิจัยในชั้นเรียน ด้านโภชนาการ และด้านการประเมินคุณภาพภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อยู่ในระดับมาก และด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน อยู่ในระดับปานกลาง

แนวทางการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่ คือ ควรใช้การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การตรวจติดตามประเมินผล และการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา (PDCA) ในกระบวนการความพร้อมของสถานศึกษา ควรเพิ่มการมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา การวัดและประเมินผลควรกำหนดรูปแบบ/เกณฑ์การประเมินที่เน้นการประเมินตามสภาพจริง

บรรณานุกรม

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2561). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย. กรมส่งเสริมการปกครอง
ส่วนท้องถิ่น.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื ้นฐาน พุทธศักราช 2551
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ชุมนุม สหกรณ์การเกษตร
แห่งประเทศไทย จํากัด.
________. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี.
กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
_______. (2561). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จรัสศรี เพ็ญสุภา. (2558). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานตามมาตรฐาน
ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา.
มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.
วรินทร ด้วงชำนาญ. (2560). สภาพการบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็ก สังกัดองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ณิชชาอร เอกเจริญบุญกร. (2560). สภาพและปัญหาการจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามทัศนะ
ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 6, 3
(ก.ย.-ธ.ค. 2560) 259-267


รุ่งทิวา ควรคิด. (2562). ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของศูนย์พัฒนา
เด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภองาว จังหวัดลำปาง. การศึกษาค้นคว้า
ด้วยตนเองหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัย
พะเยา.
ธเนศ อินทร์จันทร์. (2563). แนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
พ.ศ. 2562. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ ปริทรรศน์, 9(4),127-13
จินดาภัช ใจซื่อ. (2564). “รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาระดับปฐมวัยในศตวรรษที่ 21
ของโรงเรียนเอกชน จังหวัดชลบุรี.” วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 6,
12 (ธันวาคม 2564): 117-121.
จักรพันธ์ ลิ่มมังกูร. (2564). แนวทางการพัฒนากระบวนการวางแผนพัฒนาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม
ของเทศบาลตำบลเจดีย์แม่ครัว อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญา
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ณรงค์ศักดิ์ รักพร้า. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านการวิจัยในชั้นเรียน
ของครูเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยยึดกระบวนการทำงานเป็นทีมในโรงเรียน
สายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (2022): วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์
(พฤษภาคม-สิงหาคม 2565).
ธันยนันท์ บุญเสร็จ. (2558). สภาพการบริหารงานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตรศูนย์พัฒนา
เด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบล จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชา
การบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
อัจฉรา ผาดโผน. (2562). การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตำบลเขิน
อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ. ปริญญานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะ
สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จรัสศรี เพ็ญสุภา. (2558). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานตามมาตรฐาน
ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา.
มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.
เผยแพร่แล้ว
2025-02-27