แนวคิดและหลักการการพัฒนาจิตและปัญญาตามแนวสติปัฏฐาน 4

  • แม่ชีวิไลพร ขอนพันธ์ วิทยาลัยสงฆ์ลําพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ภารดี พูลประภา เอี่ยมเจริญ วิทยาลัยสงฆ์ลําพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ชญาน์นันท์ อัศวธรรมานนท์ วิทยาลัยสงฆ์ลําพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พลสรรค์ สิริเดชนนท์ วิทยาลัยสงฆ์ลําพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
คำสำคัญ: การพัฒนาจิต, ปัญญา, สติปัฏฐาน 4

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์การเขียนเกี่ยวกับแนวคิดและหลักการการพัฒนาจิตและปัญญาตามแนวสติปัฏฐาน 4 การเจริญสติปัฏฐาน 4 เป็นหนทางเดียวเท่านั้น ที่จะทำให้มนุษย์ได้รับการพัฒนาจิตใจ และเมื่อสติเกิดความตั้งมั่นจนเกิดปัญญาญาณ  เป็นปัญญาที่หยั่งรู้เห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง กิเลสจะหมดไป โดยสิ้นเชิง สามารถที่จะพ้นทุกข์ และบรรลุมรรค ผลนิพพานได้ในที่สุด พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงหลักการเจริญสติปัฏฐาน 4 ไว้หลายแห่งในพระสุตตันตปิฎก แต่พระสูตรที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้อย่างเต็มรูปแบบเรียกว่า “มหาสติปัฏฐานสูตร” แนวคิดและหลักการการพัฒนาจิตและปัญญาในพระพุทธศาสนาตามแนวสติปัฏฐาน  4 1) การขึ้นกัมมัฏฐาน 2) แนวทางการปฏิบัติธรรม 3) การปฏิบัติตามแบบฝึกหัด  การกราบสติปัฏฐาน  แนวทางการเดินจงกรม การนั่งสมาธิ การกำหนดอิริยาบถย่อย  การกำหนดอิริยาบถนอน การกำหนดเวทนา การกำหนดจิต  การกำหนดธรรม ด้านจิต ช่วยให้จิตใจสงบ มีสติ เพิ่มสมาธิ ความจำ และการคิดวิเคราะห์ ช่วยให้ควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น ลดความวิตกกังวล และความซึมเศร้า เพิ่มความสุข และความพึงพอใจในชีวิต และด้านปัญญา ช่วยให้มีทักษะในการตัดสินใจที่ดีขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ช่วยให้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ช่วยให้เข้าใจตัวเอง และโลกรอบตัวมากขึ้น

บรรณานุกรม

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, (2555), ธรรมะภาคปฏิบัติ 1, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), (2538), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, (กรุงเทพมหานคร:ด่านสุทธาการพิมพ์.
พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ, (2536), ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ 1,3,6 จิต เจตสิก รูป นิพพาน, กรุงเทพมหานคร: ยูนินี้พับลิเคชั่น.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), (2548), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, กรุงเทพมหานคร: โรง พิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), (ม.ป.ป.), วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม, กรุงเทพมหานคร: บันลือธรรม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://th. wikipedia. org/wiki/ [7 กรกฎาคม 2552].
พระธรรมมังคลาจารย์ วิ. (พระอาจารย์ทอง สิริมงฺคโล), (2556), 90 ปีที่ทรงคุณค่ากับการเวลาที่ผ่านไป, พิมพ์ครั้งที่ 2, เชียงใหม่: หจก. ดาราวรรณการพิมพ์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ฉบับเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย, (2535), อภิธัมมัตถวิภาวินิยา ปฐมภาค, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย, (2535), ธรรมบทอรรถกถา (ปโม ภาโค), กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, (2518), พระอภิธัมมัตถสังคหะ แปลร้อยอย่างพิสดาร, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ประยูรวงศ์.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, มหาสติปัฏฐานสูตร, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://th. wikipedia. org/wiki/มหาสติปัฏฐานสูตร [22 มกราคม 2557].
สุจิตรา อ่อนค้อม. (2542), การฝึกสมาธิ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สามัคคีสาร.
สุภีร์ ทุมทอง, (2552), สติปัฏฐาน 4: เส้นทางตรงสู่พระนิพพาน, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพมหานคร: บริษัท ขุมทองอุตสาหกรรมและการพิมพ์ จำกัด.
อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร, อรถกถาพระไตรปิฎก, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : http://th.wikipedia. org/wiki/ [7 กรกฎาคม 2552].
เผยแพร่แล้ว
2024-05-29