วิธีการลด ละ เลิกการดื่มสุราและของมึนเมาตามหลักพระพุทธศาสนา

  • พระนพดล อตฺตทโม วิทยาลัยสงฆ์ลําพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พัลลภ หารุคําจา วิทยาลัยสงฆ์ลําพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ผศ.ดร.ปกรณ์ มหากันธา วิทยาลัยสงฆ์ลําพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูปลัดกิตฺติพงษ์ กิตฺติโสภโณ (วงศ์สถาน) วิทยาลัยสงฆ์ลําพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อาจ เมธารักษ์ วิทยาลัยสงฆ์ลําพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
คำสำคัญ: ลด ละ เลิก, สุราและของมึนเมา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายในการเขียนเพื่อชี้ให้เห็นถึงวิธีการลด ละ เลิกการดื่มสุราและของมึนเมาตาม
หลักพระพุทธศาสนา ในสังคมของคนเราทุกวันนี้ ล้วนแต่มีสุราและของมึนเมามาเกี่ยวข้องกับชีวิต ทุก
เทศกาลไม่ว่าจะเป็นเทศกาลปีใหม่ ตรุษจีน สงกรานต์ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน ทําบุญวันเกิด แม้แต่งานศพ เรา
ก็มักจะเอาสุราและของมึนเมามาเลี้ยงในงานกันจนเกิดเป็นประเพณีนิยมไปแล้ว การแก้ปัญหาน้ําเมาต้อง
อาศัยการแก้ปัญหาในหลายส่วนร่วมกัน พระพุทธเจ้านั้น พระองค์เน้นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เพราะเมื่อไม่มี
เหตุเกิด ย่อมไม่มีผลที่จะตามมา ปัญหาน้ําเมานั้น ปัญหาสําคัญอยู่ที่ตัวบุคคลทั้งสิ้น บุคคลเป็นผู้ก่อเหตุ
บุคคลเป็นผู้ดื่มน้ําเมา ฉะนั้นแล้วการแก้ปัญหาจึงควรเริ่มจากตัวเราเป็นอันดับแรก แนวทางในการลด ละ
เลิกสุราตามหลักพุทธธรรมนั้น จึงเป็นการรู้จักใช้หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา เพื่อแก้ปัญหาอันเกิดขึ้น
แก่ตัวบุคคลผู้ดื่มสุราเป็นเครื่องย้ําเตือนว่า ไม่มีใครเตือนสติเราได้มากกว่าเรา ตนเตือนตนให้พ้นผิด เป็น
หลักการที่จริงแท้ ปัญหาน้ําเมาจะหมดไปหากได้ทําการแก้ไขตรงจุด นั่นก็คือการพัฒนาจิตใจของตนเองให้
สูงขึ้น เพราะจิตใจที่ไม่เข้มเข็งพอย่อมอ่อนไหวต่อแรงกระตุ้นเร้าของกิเลส การนําหลักธรรมต่างๆ ของ
พระพุทธศาสนา เช่น หลักไตรสิกขา เบญจศีล-เบญจธรรม หลักสติสัมปชัญญะ และหลักธรรมอื่นๆ มา
ประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาการดื่มสุราและของมึนเมาจึงเป็นสิ่งที่จําเป็นอย่างยิ่ง

บรรณานุกรม

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), (2554). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), (2552). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ฉบับเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, (2546). กรุงเทพมหานคร: ศิริวัฒนาอินเตอร์พรินท์.
สอ เสถบุตร, น้ำเมา. พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:
http://dictionary.sanook.com/search/dict-th-th-royal-institute/ [1 เม.ย. 2567].
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, (2529), สารานุกรมพระพุทธศาสนา ประมวลจากพระนิพนธ์, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย.
Kaplan H. I. & Sadock, B. J., (1998), Kaplan and Sadock’s synosis of psychiatry: Behavioral
science and clinical psychiatry, 8th ed. Baltimore: Williams & Wilkins.,
เผยแพร่แล้ว
2024-05-29