วิถีใหม่ ชีวิตใหม่ บนรากฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

  • พระมหาโจ กตโจโจ วิทยาลัยสงฆ์ลําพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระสมนึก จรโณ วิทยาลัยสงฆ์ลําพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อาภากร ปัญโญ วิทยาลัยสงฆ์ลําพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พนม ศรีเผือด วิทยาลัยสงฆ์ลําพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
คำสำคัญ: วิถีใหม่, ชีวิตใหม่, เศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการเขียนเกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงการแพร่ระบาดของโควิดด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ บนโลกใบนี้ คนในสังคมจำเป็นต้องมีสติใช้ชีวิตอย่างมีสติ  ต้องรู้จักพึ่งพาตนเองในยามที่วิกฤติ  วิถีใหม่ชีวิตใหม่บนรากฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง แนวทางการดำเนินชีวิตที่ปรับเปลี่ยนจากเดิม เน้นการพึ่งพาตนเอง ใช้ชีวิตอย่างพอประมาณ และรู้จักแบ่งปัน ซึ่งต้องอาศัยการพึ่งพาตนเองให้มาก พัฒนาทักษะอาชีพ คุณภาพชีวิต สร้างความมั่นคงทางด้านการบริโภคและอุปโภคที่พอเหมาะแก่ความต้องการของร่างกาย การใช้ชีวิตอย่างพอประมาณรู้จักเก็บออม ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล ไม่ประมาท รู้จักการแบ่งปันช่วยเหลือผู้อื่น ร่วมด้วยช่วยกันในการพัฒนาครอบครัวชุมชน สร้างสังคม และประเทศชาติที่ยั่งยืน โดยยึดหลักแนวทางดำเนินชีวิต ดังนี้ 1. ยึดความประหยัด 2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยควาถูกต้องสุจริต 3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขาย 4. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางในชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก 5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีลดละสิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้นไป สิ่งนี้เกิดเป็นวิถีใหม่ในการดำรงชีวิต ซึ่งเมื่อเราจำต้องปฏิบัติเป็นปกติต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่งจนเกิดเป็นความพอใจ ในที่สุดทั้งหมดนี้ก็ได้กลายเป็น New Normal ในสังคมปัจจุบันนั่นเอง 

บรรณานุกรม

ชัยอนันต์ สมุทวณิช, (2541) ทฤษฎีใหม่: มิติที่ยิ่งใหญ่ทางความคิด, เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการ TDRI ประจำปี 2542, กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย.
ธีระพงษ์ ทศวัฒน์ และปิยะกมล มหิวรรณ, (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางสังคมของประชาชนและการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID –19). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 (กันยายน 2563).
มนูญ มุกข์ประดิษฐ์, (2549), “การศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ณัฐสรณ์ เกตุประภากร. (2564). วัฒนธรรมองค์กรยั่งยืนกับเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพอมรินทร
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2525-2526, (2525), กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.
พระมหายุทธนา นรเชฏฺโฐ. (2556). หลักการพึ่งตนเองเชิงพุทธบูรณาการในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยพุทธศักราช 2556.
พระบรมราโชวาท 168 องค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช, (2542), จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม พ.ศ.2542, กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.
ศุภวุฒิ สายเชื้อ, (2546), เศรษฐศาสตร์จานร้อน: ทุนนิยมฉบับชาวบ้าน, กรุงเทพมหานคร: เนชั่นบุ๊คส์.
อภิชัย พันธเสน, (2544), พุทธเศรษฐศาสตร์: วิวัฒนาการ ทฤษฎี และการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่างๆ, กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด.
เผยแพร่แล้ว
2024-05-29