การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง การเขียนคำพื้นฐาน โดยใช้ซิปปาโมเดล (CIPPA Model) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลหางดง (ประชาคมสร้างสรรค์)
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนคำพื้นฐาน โดยใช้ซิปปาโมเดล (CIPPA Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลหางดง (ประชาคมสร้างสรรค์) ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ซิปปาโมเดล (CIPPA Model) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลหางดง (ประชาคมสร้างสรรค์) โดยการสุ่มอย่างง่าย รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง ด้วยวิธีการใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว เพื่อวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t-test แบบ Dependent Sample
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนคำพื้นฐาน โดยใช้ซิปปาโมเดล (CIPPA Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลหางดง (ประชาคมสร้างสรรค์) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ซิปปาโมเดล (CIPPA Model) อยู่ในระดับมากที่สุด
บรรณานุกรม
ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร : ด่านสุทธาการพิมพ์.
ธรรมกีรติ บวบมี. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบการสอนแบบซิปปา (CIPPA MODEL) ร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชัน (Gamification) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
บุญญฉัตร สังกัดกลาง และทรงภพ ขุนมธุรส. (2566). การพัฒนาความสามารถในการเขียนสะกดคำของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เทคนิคเกม มิฟิเคชัน ร่วมกับการใช้วรรณกรรมเป็นฐาน. Journal of Roi Kaensarn Academi, Naresuan University, 8(6), 213-217.
ประไทย ศุภวิทยาเจริญกุล. (2557). การพัฒนาแบบฝกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ โดยใชการเรียนรูแบบร่วมมือ กลุมสาระการเรียนรูภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปที่ 2. วิทยานิพนธ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 14(39), 38-49.
ประภากร บุญรอด. (2565). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่องการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน. ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พรพิมล ชูสอน และศิราวรรณ ภูงามดี. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. Journal of Buddhist Education and Research : JBER. 6(2), 61.-72.
ภานุวัฒน์ จารุนัย และแสงเดือน คงนาวัง. (2564). การพัฒนาทักษะการอ่านคำศัพท์พื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีสอนอ่านแจกลูกสะกดคำร่วมกับเกมทางภาษา กรณีศึกษา โรงเรียน บ้านนาดี ตำบลพังงู อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. Journal of Roi Kaensarn Academi, Northeastern University, 6(7), 130-141.
มานิตย์ ลังก้า. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยซิปปาโมเดล ในรายวิชางานบริการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า สำหรับนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตรดิตถ์. ปริญญาครุ ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
สุมาลี คำสว่าง. (2561). การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปาร่วมกับรูปแบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและนวัตกรรมการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.