การทำนาลุ่ม” วัฒนธรรมร่วมของคนไท : กรณีศึกษาคนไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเทศไทย และคนไทอายตอน ในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย

  • Wanlaya Namtham มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
คำสำคัญ: ไทศึกษา, วัฒนธรรมข้าว, พิธีกรรมไท, ไทอายตอน

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาความเชื่อเกี่ยวกับ นางขวัญข้าว หรือแม่โพสพ ผู้ปกปักดูแลรักษาข้าวตามความเชื่อของคนไท นับตั้งแต่เมื่อต้นกล้าอนุบาลได้ถูกปักลงบนผืนดินจนให้ผลผลิต นางขวัญข้าวหรือแม่โพสพ เป็นความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ หรือการบูชาธรรมชาติ (Animism) เพียงอย่างเดียวที่สืบทอดกันมา ที่มีลักษณะเป็นเพศหญิงในบรรดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสิ่งเหนือธรรมชาติที่คนไทให้ความสำคัญในฐานะแม่ ซึ่งเป็นผู้ดูแลเรื่องปากท้องอาหารการกินและความอุดมสมบูรณ์ของชุมชนหมู่บ้าน ก่อนที่ศาสนาพุทธจะเข้ามาเป็นสายใยหลักของชุมชน ที่นำไปสู่การให้ความสำคัญและยกย่องเพศชายเป็นใหญ่ในฐานะพ่อผู้ปกครอง และผู้สืบทอดศาสนาพุทธและวัฒนธรรมไทได้ดีกว่าผู้หญิง อย่างไรก็ตาม การเคารพบูชานางขวัญข้าวหรือแม่โพสพ ยังคงมีสืบเนื่องมาจวบจนถึงปัจจุบันแม้ศาสนาพุทธจะเข้ามาเป็นองค์ประกอบหลักในวัฒนธรรมไท แต่นางขวัญข้าว หรือแม่โพสพ ก็ยังคงเป็นความเชื่อที่คนไทยังคงเคารพบูชาเพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมข้าวของคนไท วัฒนธรรมข้าวสะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์ความเป็นไทนอกเหนือไปจากการใช้ภาษาไทและวัฒนธรรมประเพณีธรรมเนียมแบบไท ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทมาช้านาน ทำให้วัฒนธรรมข้าวหรือประเพณีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการทำนานั้นเป็นเรื่องที่คนไททุกคนมีร่วมกัน ผ่านวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เช่น ความเชื่อเรื่องนางขวัญข้าวหรือแม่โพสพ พิธีร้องขวัญ การบูชานางขวัญข้าว ความเชื่อเรื่อง “ผีไร่,ผีทุ่ง” อาหารหรือขนมที่ทำมาจากข้าว เป็นต้น

บรรณานุกรม

Baker, C and Phongpaijit, P. (2005). A History of Thailand. Cambridge University Press, Australia.
Boonchaleay, Y. , Kamnuanta, J. and Teudchoosaunpria, W. (2008), The Report on Short Term Piot Project on Database Development for Living Heritage City, Maehongson Province, Thai Research Foundation, Bangkok.
Boonchaleay, Y., Kamnuanta, J. And Teudchoosakunpria, W. (2008). The Report on Short Term Pilot Project on Database Development for Living Heitage City, Maehonson Province. Thai Research Foundation, Bangkok.
Buragohain, J. (1998). The Tai Aitons of Assam, Chalardchai Ramitanondh, Virada Somswasdi & Ranoo Wichasin. Tai. Chiang Mai University.57–108.
Burua, G.C., (1930). Ahom- Buranji. Baptis, Calcutta.
Cowan, C.D. and Wolters, O.W. (1976). Southeast Asian History and Historiography. Cornell University Press, London.
Dodd, W., C. (1923). The Tai Race: Elder Brother of the Chinese. The torch Press, Cedar Rapids.
Gait, E. (1905). The History of Assam. Reprint edition, LBS Publications, Guwahati.
Gogoi, P. (1968). The Tai and the Tai Kingdoms: With a fuller Treatment of the Tai-Ahom Kingdom in the Brahmaputra Valley. Gauhati University, Gauhati.
Khonkayun, P. (2012). Tai Yai Folk Tale and Tai Yai’s Identity of Maeaay District, Chiangmai. The Graduate School, Chiangmai University.
Milne, L. (2009). Shans at Home. White Lotus, London.
Na Talahng, S. and Pattrachai, S. (1998). Katichon KonThai-Tai. Chulalongkorn University, Bangkok.
Phalung, N. S. (1998). A Brief Survey on Tai Aitons., Chalardchai Ramitanondh, Virada Somswasdi & Ranoo Wichasin. Tai. Chiang Mai University.114-25.
Phukon, G (2019). Tais of Northeast India and Southeast Asia: A Study of Ethno-Cultural Linkage. DVS Publishers, India.
Wichasin, R. (1996). Ahom Buranji. Amarin Printing & Publishing, Bangkok. (In Thai)
เผยแพร่แล้ว
2024-09-22