วัจนลีลาในหนังสือคำสอนสำหรับพระป่าอีสาน

  • กุสุมา สุ่มมาตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • กิตติคุณ ภูลายยาว มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
คำสำคัญ: 1. หนังสือคำสอน; 2. พระป่าอีสาน; 3. วัจนลีลา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัจนลีลาที่ปรากฏในหนังสือคำสอนสำหรับพระป่าอีสาน

 โดยมีหนังสือคำสอนที่ใช้ศึกษา 5 เล่ม ได้แก่ 1) กรรมฐาน 40 สมาธิแบบพระพุทธเจ้าจำนวน 55 เรื่อง
ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต 2) วิปัสสนาสมาธิภาวนารักษาใจ จำนวน 50 เรื่องของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร  3) รวมโอวาทหลังปาฏิโมกข์ จำนวน75 เรื่องของพระราชนิโรธรังสีปัญญาวิศิษฏิ์ (เทสก์ เทสรังสี) 4) 48 พระธรรมเทศนา จำนวน 25 เรื่องของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) 5) เข้าสู่แดนอวกาศของจิตของธรรม จำนวน 31 เรื่อง ของพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) รวมจำนวนทั้งสิ้น 236 เรื่อง ทั้งนี้ ผู้วิจัยใช้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research)

ผลการวิจัยพบว่า หนังสือคำสอนสำหรับสอนพระสงฆ์ของพระป่าอีสานมีการใช้วัจนลีลามี 7 วัจน

ลีลา ทั้งสิ้น 7 ลักษณะ เรียงลำดับความถี่ของข้อมูลที่ปรากฏจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้  1) วัจนลีลาแจ่มชัด
2) วัจนลีลาถูกต้องแม่นยำ 3) วัจนลีลาชัดถ้อยชัดคำ 4) วัจนลีลาซับซ้อน 5) วัจนลีลาโน้มน้าว 6) วัจนลีลาบังคับ-ชี้นำ 7) วัจนลีลาเป็นปึกแผ่น ทั้งนี้ จากวัจนลีลาดังกล่าวหนังสือธรรมะของพระสายปฏิบัติอีสาน
สำหรับสอนพระสงฆ์จัดเป็นลักษณะ (characteristics)ของภาษาพุทธศาสนา

บรรณานุกรม

พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน). (2552). เข้าสู่แดนอวกาศของจิตของธรรม. กรุงเทพฯ: พรี
มาพับบลิชชิง จำกัด.
พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺ-โท). (2546). 48 พระธรรมเทศนา. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.
พระมหาวิชาญ สุวิชาโน. (2542). ศึกษากระบวนการฝึกอบรมบุคลากรทางพระพุทธศาสนาของพระ
โพธิญาณเถระ (ชา สุภทฺโท). วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาธรรมนิเทศ)
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
พระราชนิโรธรังสี (เทสก์ เทสรํสี). (2539). รวมโอวาทหลังปาฏิโมกข์. กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร. (มปป.) วิปัสสนาสมาธิภาวนารักษาใจ. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต. (มปป.) กรรมฐาน 40สมาธิแบบพระพุทธเจ้า. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
วินัย ผลเจริญ. (2562). การปฏิบัติกรรมฐานตามแนวของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ. ใน วินัย ผลเจริญ
(บรรณาธิการ), รวมบทความพุทธศาสนากับสังคมและการเมือง. (น.47-105) มหาสารคาม : อภิชาติการพิมพ์.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2558). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการภาษาแห่งอำนาจ : การวิเคราะห์วัจนลีลา
ของภาษากฎหมาย ภาษาการเมือง ภาษาสื่อ และภาษาวิชาการของสังคมไทย. “บทสังเคราะห์ภาษาแห่งอำนาจ” สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อานันตพร จินดา. (2549). กลยุทธ์ด้านสาระและการเล่าเรื่องในงานเขียนอิงธรรมะของดังตฤณ.
วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
Stanley, T. J. (1984). The Buddhist Saint of Forest and the cult of Amulet : A study in
Charisma, Hagiography, and Millennial Buddhism. Cambridge : Cambridge University Press.
เผยแพร่แล้ว
2024-05-29