การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็น ซอฟต์พาวเวอร์ของชุมชน
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองให้กับประชาชนในพื้นที่ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะ และ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านตามความถนัดของตน การประกอบอาชีพ การพัฒนาอาชีพ การยกระดับ คุณภาพชีวิตของตน ครอบครัว ชุมชน หรือสังคม หรือเพื่อประโยชน์แห่งความรอบรู้ของตน โดยอาจ ได้รับการรับรองคุณวุฒิตามความเหมาะสม จำเป็นต้องมีการวางแผนมีการสำรวจความต้องการของกลุ่มผู้เรียนและฝึกทักษะอาชีพในลักษณะ หลักสูตรระยะสั้นที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเพื่อให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานในอาชีพ เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยใช้ทักษะ CPMD ได้แก่ การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving) การจัดการตลาด (Marketing management) ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital literacy) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคคลมีทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิต ที่สอดคล้องและเท่าทันพัฒนาการของโลก และมีโอกาสพัฒนาหรือเพิ่มพูนทักษะของตนให้สูงขึ้นหรือปรับเปลี่ยนทักษะของตนตามความถนัดหรือความจำเป็น รวมทั้งทักษะการขายและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เป็นซอฟต์พาวเวอร์ของชุมชน ซึ่งลักษณะของซอฟต์พาวเวอร์ ของแต่ละชุมชนขึ้นอยู่กับบริบทพื้นที่ชุมชนการนำเอาเอกลักษณ์ที่มีในชุมชนมาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์รวมทั้งสืบทอดวัฒนธรรมของชุมชนให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
บรรณานุกรม
พนัส จันทร์ศรีทอง. (2565). การพัฒนาการศึกษากับซอฟต์พาวเวอร์. ครุศาสตร์สาร | Journal of Educational Studies, 16(2). 33-46.
อาภา วรรณฉวี. (กันยายน 11, 2023). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking Development). มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. https://bsru.net/การพัฒนาความคิดสร้างสร/
ชำนาญ จันทร์เรือง. (ตุลาคม 28, 2564). ซอฟต์พาวเวอร์ (soft power) คือ อะไร?. ประชาไท. https://prachatai.com/journal/2021/10/95654
PlookExplorer1. (พฤษภาคม 14, 2566). ทักษะการตัดสินใจและแก้ปัญหา. ทรูปลูกปัญญา.https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/93408-careeroverview-careerdevelopment-