การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้ SQ5R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้ SQ5R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ SQ5R กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ โดยการสุ่มอย่างง่าย รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง ด้วยวิธีการใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว เพื่อวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t-test แบบ Dependent Sample
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้ SQ5R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ SQ5R อยู่ในระดับมากที่สุด
บรรณานุกรม
ธันยาลักษณ์ สังขลักษณ์. (2564). การพัฒนาการอ่านจับใจความด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ6R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 [การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร. http://www.edu.nu.ac.th/th/news/docs/download/2021_06_17_16_05_04.pdf
ปฏิญญา โกมลกิติสกุล. (2565). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบSQ5R ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด [การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร. https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/ 5532/3/PatinyaKomonkitisakul.pdf
รัตนาภรณ์ ทับทิมจันทร์. (2565). การสร้างแบบฝึกทักษะโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ5R เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน อย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 [การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร. https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/ bitstream/123456789/5652/3/RattanapornTabtimchan.pdf
สกลรัตน์ นันอุดร. (2565). การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึก ษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC ร่วมกับเทคนิคการสอนอ่าน KWL Plus [วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร. https://gsmis.snru.ac.th/e-thesis/file_att1/2023030161421249106_fulltext.pdf
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2565). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ O-NET ปีการศึกษา 2565. https://newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Notice/FrBasicStat.aspx
วรรษมล ศุภคุณ. (2564). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. https://etheses.rbru.ac.th/pdf-uploads/allfile-415-file01-2021-12-21-10-59-24.pdf
อุษาวดี ชูกลิ่นหอม. (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบ SQ5R [วิทยานิพนธ์นี้ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/ 123456789/1468/1/57255308.pdf
ดนิตา ดวงวิไล. (2565). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการอ่านแบบ SQ5R ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและพฤติกรรมการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 17(2). 97-106. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ yru_human/article/view/252578/174864
ภาวิณี สุทธิกุล. (2566). การพัฒนานวัตกรรมการสอนเอสคิวไฟว์อาร์และห้องเรียนกูเกิลเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทย สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา [วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่