การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านป่าติ้ว
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านป่าติ้ว ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านป่าติ้ว โดยการสุ่มอย่างง่าย รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง ด้วยวิธีการใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว เพื่อวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t-test แบบ Dependent Sample
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการทางการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านป่าติ้ว หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด
บรรณานุกรม
ทิพลัดดา นิลกผาย. (2560). การพัฒนาความสามรถด้านการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการกลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพมหานคร : ด่านสุทธาการพิมพ์.
นภชอร พันลึก และธีรารัตน์ ทิพยจริสเมธา. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL). วารสารวิชาการครุศาสตร์สวนสุนันทา, 4(1), 64 – 72.
พันนิภา สุพรม และคณะ. (2566). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 2(2), 35 – 50.
ศุภิสรา บุตรวัน และวสันต์ สรรพสุข. (2565). การพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียงและการเขียนคำควบกล้ำ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. ครุศาสตร์สาร | Journal of Educational Studies, 16(2), 132 – 144.
สินีนารถ รัชณี. (2566). การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง การอ่าออกเสียงคำควบกล้ำ เพื่อสร้างความสามารถในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 2(2), 926 – 934.
สุรัสวดี จันทพันธ์. (2566). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโพนสว่าง โดยใช้ชุดกิจกรรมการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ ร่วมกับการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สุวรรณา ภูอังคะ และคณะ. (2565). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ลําดับและอนุกรม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อประสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และนวัตกรรมมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 1(2), 48 – 59.