ความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ ของครูผู้สอนในศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพัน
ต่อองค์การของครูผู้สอนในศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ
เขตการศึกษา 7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยใช้แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 196 คน ได้จากกำหนดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน และวิธีการได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น สถิติที่ใช้
ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า
- คุณภาพชีวิตการทำงานของครูผู้สอนในศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ
ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความเกี่ยวข้องกับสัมพันธ์กับชุมชน สังคม - ความผูกพันต่อองค์การของครูผู้สอนในศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ
ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยรวมและรายอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความปรารถนาที่จะรักษาสมาชิกภาพขององค์การไว้
3. ความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของครูผู้สอนในศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยรวมมีความสัมพันธ์กันในทางบวกอยู่ในระดับสูงมาก มีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ .817 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
บรรณานุกรม
ณฐิณี มณีวรรณ. (2563). ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ดนุสรณ์ คุ้มสุข และสงวน อินทร์รักษ์. (2023). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลบางกรวย (วัดศรีประวัติ). วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 13(1), 53 - 68.
เบญจรัตน์ ควรเสนาะ. (2565). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษากับความผูกพันต่อองค์การของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปวันรัตน์ ตนานนท์. (2550). คุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรมในจังหวัดเชียงใหม่ = Quality of working life of the judiciary officials in Chiang Mai Provincial Courts / ปวันรัตน ตนานนท์. เชียงใหม่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ยสบวร อามฤต. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท MM Logistics (การจัดการมหาบัณฑิต). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
รัฐพงษ์ พรมหากุล. (2564). อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลและคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 8 (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วัชรพงษ์ แสนมาโนช. (2564). คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร (ครุศาสตรมหาบัณฑิต). อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
วีรยุทธ โลมพันธ์. (2560). คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สถิรพร เชาวน์ชัย. (2560). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา. พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อนันต์ธนา สามพุ่มพวง. (2558). แรงจูงใจกับความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2562). การวิจัยทางการศึกษา : แนวคิดและการประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Albrecht, I. S. (2010). Hand book of Employee Engagement, Perspectives, Issues, Research and Practice. UK.: Edward Elgar Publishing.
Edgar F. Huse and Tomas G. Cumming, Organization development and change (New York: McGraw-Hill, 1985), 199-200.