การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนปกครองท้องถิ่น อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

  • มณีวรรณ์ สุระเสียง มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • สุรศักดิ์ สุทธสิริ มหาวิทยาลัยนอร์ทเชียงใหม่
  • สังวาร วังแจ่ม มหาวิทยาลัยนอร์ทเชียงใหม่
  • ทัศนีย์ บุญมาธิ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
คำสำคัญ: การบริหาร, หลักสูตรสถานศึกษา, โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารหลักสูตร ของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารหลักสูตร ของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 103 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

         ผลการวิจัยพบว่า

  1. การบริหารหลักสูตร ของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการปรับปรุง และพัฒนากระบวนการบริหารหลักสูตร ด้านการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา อยู่ในระดับ มากที่สุด ด้านการวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ด้านการดำเนินการบริหารหลักสูตร ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล และด้านการสรุปผลการดำเนินการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา อยู่ในระดับ มาก
  2. แนวทางพัฒนาการบริหารหลักสูตร ของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ มีดังนี้ ควรมีเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ทุกฝ่ายได้รับทราบ และร่วมกันจัดทำหลักสูตร ใช้กระบวนการ PLC ร่วมกันวิเคราะห์บริบท ร่วมกันออกแบบแผนการเรียนรู้ กำหนดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง มีการวิเคราะห์ร่วมกัน สำรวจความต้องการ ความจำเป็นพื้นฐานด้านอาคารสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ บุคลากร แต่งตั้งผู้รับผิดชอบการบริหารหลักสูตรเป็นช่วงชั้น มีการกำกับ ติดตามให้มีการนำหลักสูตรไปใช้อย่างเป็นระบบ มีการกำหนดปฏิทินในการนิเทศอย่างชัดเจน รายงานผลการใช้หลักสูตรเป็นระยะอย่างต่อเนื่องจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ และเป็นปัจจุบัน โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ

บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. [ม.ป.ท. : ม.ป.พ.].
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2560). ทักษะ 7C ของครู 4.0. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุทธศักดิ์ ภูผาอารักษ์. (2565). การบริหารหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ พุทธศักราช 2562 ของศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลางกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา.
รังสันต์ โยศรีคุณ. (2556). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.
โรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565. เชียงใหม่ : โรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย. (เอกสารอัดสำเนา).
โรงเรียนเทศบาลหางดง. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565. เชียงใหม่ : โรงเรียนเทศบาลหางดง. (เอกสารอัดสำเนา).
ศิริรัตน์ อินทรกำแหง. (14 สิงหาคม 2566). สัมภาษณ์. รองผู้อำนวยการ. โรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย.
สงกรานต์ เรืองประทีป. (2559). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุริยา ทองจรัส. (2559). การศึกษาสภาพปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาการบริหารหลักสูตรของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
เผยแพร่แล้ว
2024-09-26