การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลโป่งน้ำร้อน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3

  • แวววลี พุทธิมา North-Chiang Mai University
  • สาโรจน์ แก้วอรุณ
  • สุดา เนตรสว่าง
คำสำคัญ: การบริหารงานวิชาการ, ยุคดิจิทัล, การพัฒนาที่ยั่งยืน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา ตำบลโป่งน้ำร้อน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต3  ประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 60 คนประกอบไปด้วยผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน รักษาการตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 1 คนและครูผู้สอน จำนวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์การสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำเสนอโดยวิธีพรรณณา         ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลโป่งน้ำร้อน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต3 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี ดิจิทัล และ 2) แนวทางการพัฒนาได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอย่างมีระบบสามารถตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลได้และสอดคล้องกับหลักสูตรท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการส่งเสริมให้ใช้ระบบสาระสนเทศ ที่ทันสมัยเข้ามาช่วยบันทึกข้อมูลโดยการใช้ระบบQ-infoเข้ามาช่วย ผู้บริหารควรเสริมสร้างความรู้ทักษะแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการมีส่วนร่วมและ ผู้บริหารควรมีการส่งเสริมการวางแผนพัฒนากระบวนการการเรียนการสอน มีการวิเคราะห์ผู้เรียน จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

บรรณานุกรม

พรรษมน พินธุสมิต . (2560). การปฏิบัติงานด้านการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี .วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ภูษณทัศ ผลทับทิมธนา. (2563). การบริหารโครงการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มูฮำหมัดรุชลิน ลือบากะลูติง. (2563). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่. สารนิพนธ์ หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ยุพา พรมแย้ม. (2562). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอบางบัวทองสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 2. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วชิรพงศ์ พูลเกสร. (2565). แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะของผู้บริหารในยุคดิจิทัลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลกอุตรดิตถ์. การค้นคว้าอิสระ บัณฑิตวิทยาลัย หลักสูตรการศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562 การปฏิรูปการศึกษา ในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: บริษัท ภาพพิมพ์ จำกัด.
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์. (2560). รายงานประจำปี 2560. สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์(องค์การมหาชน) (EGA). [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.dga.or.th/wp-content/uploads/2021/ 03/รายงานประจำปี-2560.pdf
เผยแพร่แล้ว
2024-09-26