การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียน ในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลโป่งน้ำร้อน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3

  • รุ่งนภา เจริญธรรม มหาวิทยาลัยนอร์ท เชียงใหม่
  • สิทธิชัย มูลเขียน
  • สุรัตน์ ศรีดาเดช
  • ประกอบ สาระวรรณ
คำสำคัญ: บริหารงานวิชาการ, มีส่วนร่วม, โรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลโป่งน้ำร้อน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลโป่งน้ำร้อน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู ปีการศึกษา 2566 จำนวน 60 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมภาษณ์ แบบเจาะจง จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลโป่งน้ำร้อน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการวัดประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน อยู่ในระดับมาก ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา อยู่ในระดับมาก และด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านที่มีคำเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก

แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลโป่งน้ำร้อน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 คือ สถานศึกษาควรจัดให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้มากขึ้น มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนากระบวนการเรียนรู้ โดยพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้และส่งเสริม ให้แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีส่วนร่วมในการปรับปรุงระเบียบและแนวปฏิบัติในการวัดผลและประเมินผล ส่งเสริมให้มีความร่วมมือระหว่างโรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา ส่งครูที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาชาวิชาจากโรงเรียนขนาดใหญ่ไปช่วยเหลือโรงเรียนขนาดเล็ก จัดทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ในชุมชนและพัฒนาพื้นที่โรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนด้วย

บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
จักรพันธ์ แก้วพันธ์. (2565). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 19-35.
ณัฐพงศ์ จันทนะศิริ และ บุญฤทธิ์บุญมา. (2559). กลยุทธ์การพัฒนาสถานศึกษาในหลักสูตรพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประชารัฐ. กรุงเทพฯ : โครงการสานพลังประชารัฐ.
เนตรนภา ภูสำเภา. (2560). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนกลุ่มท่าจีนก้าวหน้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
บรรชา ใจกล้า. (2561). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขต เมืองเกษปทุม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปรัตถกรณ์ กองนาคู (2562). การพัฒนาแนวทางการบริหารวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต 3. การศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปาริชาต สุนทร. (2560). การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พิมพ์ใจ พุฒจัตุรัส. (2562). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์จังหวัดปทุมธานี.
วรัญญา เปลี่ยนพิพัฒน์. (2560). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในกลุ่มอำเภอพนัสนิคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิชิดา แย้มศรี. (2564). การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา สำนักงานเขตบางขุนเทียน สังกัดกรุงเทพมหานคร. สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร.
สุทธิกานต์ รอดเรื่อง. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาระยอง เขต 1. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สุทธิศรี คำมะโน (2560). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารและครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาของกลุ่มสหวิทยาเขต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วิทยานิพนธ์หลักสูตร ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
สุนันทา จันทร์ชูกลิ่น. (2565). การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 12( 1), 78-90.
อัศวรินทร์ แก่นจันทร์ (2562). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์จังหวัดปทุมธานี.
เผยแพร่แล้ว
2024-09-26