แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรเรียนห้วยโป่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนห้วยโป่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ และใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา( content Analysis) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนห้วยโป่ง พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความกล้าเสี่ยง ด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง ด้านความกระตือรือร้น ด้านความทะเยอทะยาน ด้านความมีเอกลักษณ์ และด้านการวางแผน ตามลำดับ
ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มห้วยโป่ง พบว่า ในแต่ละด้านมีแนวทางการพัฒนา ดังนี้ ด้านความกระตือรือร้น ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาตนเองให้เป็นผู้บริหารมืออาชีพ มีภาวะผู้นำในการบริหาร และเป็นที่ยอมรับของชุมชน ด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้บริหารสถานศึกษามีความรู้ในบทบาทหน้าที่ของตนเอง บริหารงานได้ทันตามกำหนดและตรงต่อเวลา ด้านความทะเยอทะยาน ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถในการบริหารองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ด้านความกล้าเสี่ยง ผู้บริหารสถานศึกษาควรเป็นบุคคลที่ กล้าคิด กล้าปฏิบัติ กล้าตัดสินใจ และกล้าเผชิญความท้าทาย ด้านการวางแผน ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี นิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล ปรับปรุง พัฒนา และรายงานผลการปฏิบัติงาน ด้านความมีเอกลักษณ์ ผู้บริหารสถานศึกษาควรเป็นบุคคลที่มีคุณลักษณะที่โดดเด่น มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความเป็นตัวของตัวเอง
คำสำคัญ : แรงจูงใจ,การปฏิบัติงาน,ผู้บริหารสถานศึกษา, กลุ่มโรงเรียนห้วยโป่ง
บรรณานุกรม
กชพรพรรณ สุทธิหิรัญพงศ์. (2562). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และบุคลากรทางการศึกษา เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
เจนจิรา เทียนวิจิตร (2564). แรงจูงใจในการทำงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ในการทำงานของกลุ่มคน Generation Y ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จักรพันธ์ สุทธิยาภรณ์ (2565). แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ดรรซนี จิตคำรพ. (2561). แรงจงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16. ในการประชุมหาดใหญ่วิตาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9(น.385-402) สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
นิตยา พรมจันทร์ (2562). แรงจูงใจและภาวะผู้นำที่มีผลสัมฤทธิ์ต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในองค์กรยุค 4.0 กรณีศึกษา บริษัท อาซีฟา จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
ปพิชญา ศรีจันทรา. (2563). แรงจูงใจและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบริษัทขนส่งแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,
พิมพ์ชนก ทองเงิน. (2564). แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
พีระกรณ์ ทะชิตะสิงห์, ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิลัน และสุพจน์ ดวงเนตร การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศองค์การของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 (ว.มรม. ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2566 ).
ภพกมล มุขศรี. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 วารสารวิทยาจารย์, 114(1), 68-71.