การใช้หลักสูตรบนฐานเศรษฐกิจชุมชนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะหลัก ทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

  • เกียรติศักดิ์ - ชัยยาณะ โรงเรียนทาเหนือวิทยา
คำสำคัญ: หลักสูตรบนฐานเศรษฐกิจชุมชน; สมรรถนะหลัก; ทักษะชีวิตและอาชีพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสมรรถนะหลักของนักเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรบนฐานเศรษฐกิจชุมชนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) พัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียน
3) พัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 51 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะหลัก แบบประเมินทักษะชีวิตและอาชีพ แบบประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่านักเรียนได้รับการพัฒนาสมรรถนะหลัก ทักษะชีวิตและอาชีพสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนอยู่ในระดับมากขึ้นไป และมีความคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

บรรณานุกรม

กิตติศักดิ์ มโนพัฒนกร และชลธิชา คำกองแก้ว. (2565). ความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะหลักตามกรอบหลักสูตรฐานสมรรถนะของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 17(2), 24-38.
ขวัญชนก การิก มณฑิรา จารุเพ็ง และพัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์. (2565). การพัฒนาสมรรถนะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายโดยกิจกรรมกลุ่ม. วารสาร "ศึกษาศาสตร์ มมร" คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, 10(2), 89-99.
คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. (2566, 20 กรกฎาคม). ประกาศคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง รายชื่อโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ รุ่นที่ 3 (ครั้งที่ 2) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566.
ณัฐธิดา ดวงแก้ว. (2565). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 17(2), 129-143.
ธราพงษ์ การกระโทก กิตติชัย สุธาสิโนบล และวิไลลักษณ์ ลังกา. (2566). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านทักษะอาชีพและความเป็นผู้ประกอบการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(12), 202-212.
บัณฑิต รัตนไตร ศศิร์รัช สายขุน และอุษา ศิลป์เรืองวิไล. (2566). ประเทศไทยและอำนาจละมุน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 13(1), 43-53.
บุษกร วิเศษสมบัติ. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะอาชีพและเจตคติต่ออาชีพของนักเรียนโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี. วารสารการวัดผลการ
ศึกษา, 38(103), 215-226.
ปนัดดา นกแก้ว และชัยอนันต์ มั่นคง. (2564). ทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 8(1), 263-278.
วารี โสขุมา ปราโมทย์ จันทร์เรือง และเนติ เฉลยวาเรศ. (2561). การพัฒนาหลักสูตรเรื่องการแกะสลักดอกหน่อไม้ไผ่ตงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารลวะศรี วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 2(2), 29-44.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566, 14 พฤศจิกายน). นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 - 2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครู. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://otepc.go.th/images/00_YEAR2564/03_PV1/1Mv9-2564.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
อรธิดา ประสาร วิมลวรรณ เปี่ยมจาด และเอกชัย ดวนใหญ่. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่มีชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะความคิดขั้นสูงและสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(7), 13-31.
เผยแพร่แล้ว
2025-02-27