กิจกรรมการประกอบอาหารเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

  • นัสวรรณ ใจมั่น วิทยาลัยชุมชนน่าน
  • นรินทร์ รินพนัสสัก
  • ราชาวดี สุขภิรมย์
คำสำคัญ: กิจกรรมการประกอบอาหาร, ทักษะทางภาษา,เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งหมายเพื่ออธิบายคุณค่าและข้อได้เปรียบผ่านการจัดกิจกรรมประกอบอาหารที่ถูกปรับให้เหมาะในการส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย การจัดกิจกรรมประกอบอาหาร  สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง และเรียนรู้โดยตรงผ่านการประกอบอาหารเด็กจะได้ฝึกทักษะการวางแผน และเตรียมวัตถุดิบที่หลากหลาย ในขั้นตอนต่าง ๆ ของการทำอาหาร โดยเน้นการลงมือปฏิบัติจริง เด็กจะได้รับประสบการณ์ที่มีประโยชน์ ในการทำงานอย่างเป็นกระบวนการ นอกจากนี้ยังสามารถเรียนรู้ และรู้จักอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการประกอบอาหาร ซึ่งช่วยในการพัฒนาทักษะอย่างสมดุล และเสริมสร้างความคิดรวบยอดในการทำกิจกรรม ทั้งนี้ยังมีประโยชน์ในการปลูกฝังพฤติกรรมด้านสุขอนามัย และโภชนาการที่ดีทำให้กิจกรรมประกอบอาหารเป็นทางเลือกที่ดีในการสนับสนุนการพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบวงจร ในขณะที่ทำกิจกรรม พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูสามารถใช้คำศัพท์ทางภาษาเพื่ออธิบายขั้นตอน วัตถุดิบ และผลลัพธ์ของการทำอาหารนั้น ๆ นอกจากนี้ยังสามารถให้เด็กตอบคำถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และพูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้รับจากกิจกรรมดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะทางภาษา การจัดกิจกรรมการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัยช่วยสร้างคำศัพท์ทางภาษา และพัฒนาทักษะการสื่อสาร ผ่านการใช้ภาษาในสถานการณ์จริง และเสริมทักษะการฟังและตอบสนอง นอกจากนี้ยังส่งเสริมความรับผิดชอบและความสังคมของเด็ก ผ่านการทำงานทีมและสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้ใหญ่หรือเพื่อนร่วมกิจกรรม ทั้งนี้เป็นกิจกรรมที่สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีคุณค่าสูงสำหรับเด็กปฐมวัย ในด้านต่าง ๆ

บรรณานุกรม

ชนิพรรณ จาติเสถียร. (2560). การส่งเสริมความสามารถทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : บริษัท พลัสเพรส จำกัด.
พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา, 136 (56 ก),5.
นรินทร์ รินพนัสสัก. (2564). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา ปว 0104 การจัดการศึกษาปฐมวัย.น่าน : วิทยาลัยชุมชนน่าน.
สุพรพิศ ผลรักษา. (2556). ผลการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานที่มีต่อความสามารถทางการสังเกตของเด็กปฐมวัยโรงเรียนราษฎร์พัฒนา จังหวัดสุรินทร์. การศึกษาค้นคว้าอิสระ, หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Bandura, A. .(1986). The explanatory and predictive scope of self - efficacy theory. Journal of Social and Clinical Psychology. :4 , 359 – 373.
Chomsky,N.(1969). Aspects of the Theory of Syntax. The MIT Press; New Impression edition .March 15.
Epstein, Ann S.(2014). The Intentional Teacher. Choosing the Best Strategies for Young Children's Learning (Revised edition), Washington, D. C. : The National Association for the Education of Young Children and High Scope Press.
Goodman, K. (1986). What’s whole in whole language. New Hampshire : Heinemam.
John Dewey.(1969).Philosophy Education, and Reflective Thinking. In Thomas O. Buford Toward a Philosophy of Education. New York: The Macmillan Company,
Piaget, J. (1970). Science of Education and the Psychology of the Child. New York : Orion Press.
Skinner, B. F. (1953). Science and Human Behavior. MA: The B. F. Skinner Foundation,
Vygotsky, L. S. (1986). Thought and language. Cambridge, MA : MIT Press.
เผยแพร่แล้ว
2025-02-27