การปกครองท้องถิ่นไทย: กรณียกฐานะการปกครองเทศบาลตำบลศรีเตี้ย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องการปกครองท้องถิ่นไทย: กรณียกฐานะการปกครองเทศบาลตำบลศรีเตี้ย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการปกครองส่วนท้องถิ่น 2)เพื่อศึกษาความคิดเห็นการยกฐานะการปกครองท้องถิ่นของเทศบาลตำบลศรีเตี้ย เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณจากประชากรที่ใช้ในการศึกษามืทั้งสิ้น 306 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยใช้สถิติการพรรรณาวิเคราะห์ มีการผลวิจัย ดังนี้
แนวคิดการปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติให้มีรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นให้มีอิสระในการกำหนดนโยบาย การปกครอง การบริหารราชการ การบริหารงานบุคคล การเงินการคลังในการปกครองตนเองภายใต้กรอบระเบียบกฎหมายข้อบังคับต่างๆ โดยมีคณะผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน เพื่อร่วมกันพัฒนาท้องถิ่นของตนเองให้สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของตนเอง ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนอย่างสูงสุดโดยไม่ผิดระเบียบและขัดต่อกฎหมาย ความคิดเห็นการยกฐานะการปกครองท้องถิ่นของเทศบาลตำบลศรีเตี้ย ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 54.6 มีอายุระหว่าง 41 ñ 50 ปี ระดับศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 42.5 ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 34.3 และมีที่อยู่อาศัย หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 6 ตำบลศรีเตี้ย ร้อยละ 11.4 การพัฒนาท้องถิ่นและผลการดำเนินงานของเทศบาลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง การยกฐานะการปกครองเป็นเทศบาลตำบลนั้นเป็นไปตามกฎหมายพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 12) พ.ศ.2546 บัญญัติไว้ว่าเมื่อท้องถิ่นใดมีสภาพอันสมควรยกฐานะเป็นเทศบาลให้จัดตั้งท้องถิ่นขึ้นเป็นเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง หรือเทศบาลนครตามพระราชบัญญัติ เหตุผลสำคัญในการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบล คือ รายได้ ประชากร พื้นที่ สภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม โดยยึดเจตนารมณ์ของประชาชนเป็นส่วนสำคัญ ระบบการบริหารจัดการสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้เพิ่มมากขึ้น ข้อเสนอนะการบริการสาธารณะควรมีความหลากหลาย การจัดสรรหรือกระจายงบประมาณควรยึดหลักความทั่วถึง ครอบคลุม และเป็นธรรม ควรให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในดำเนินกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ในท้องถิ่นตามหลักการธรรมภิบาล
บรรณานุกรม
ยุทธพงศ์ ไชยศร. (2536). ทัศนคติของผู้นำท้องถิ่นในจังหวัดลำพูนต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัด. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นพดล ปาละประเสริฐ, (2557). พระราชวัง 3 แคว้น. นนทบุรี: บมจ.อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
วิทยา ธนถาวรลาภ.(2542). การปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540. ปริญญานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต (นิติศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
วรเดช จันทรศร. (2534). สู่ 100 ปีของการปฏิรูประบบราชการไทย : อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของการปฏิรูปกระทรวง ทบวง กรม. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. (31),1: 1-29.