พระพุทธศาสนาในลำพูน : ประวัติศาสตร์ หลักฐาน และการสร้างอารยธรรมทางสังคม

  • อาเดช อุปนันท์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน
คำสำคัญ: พระพุทธศาสนา, ประวัติศาสตร์, อารยธรรมทางสังคม, จังหวัดลำพูน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง พระพุทธศาสนาในลำพูน : ประวัติศาสตร์ หลักฐาน และการสร้างอารยธรรมทางสังคม มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติพระพุทธศาสนาในลำพูน    2) เพื่อศึกษาหลักฐานโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาในลำพูน และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์พระพุทธศาสนาในลำพูนกับการสร้างอารยธรรมทางสังคม การศึกษาวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) อีกทั้งเครื่องมือแบบบันทึกข้อมูลภาคสนาม (Field Study)และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured) จำนวน 14 รูป/คนทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis Technique) พร้อมทั้งนำเสนอโดยวิธีการพรรณนาอ้างอิงคำพูดบุคคล พบว่า ประวัติพระพุทธศาสนาในลำพูน พบว่า จังหวัดลำพูน หรือ เมืองหริภุญไชย เป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนานมีอายุประมาณ 1,343 ปี พระนางก็ทรงเป็นต้นแบบของการเป็นนักปกครองและองค์อัครศาสนูปถัมภกส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา เช่น การสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม การน้อมนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการดำเนินชีวิต การปกครองและการบริหารกิจการบ้านเมือง จนเป็นแนวทางให้กษัตริย์ทุกพระองค์ที่ปกครองเมืองหริภุญไชยที่เป็นรากฐานของการนับถือและเผยแผ่พระพุทธศาสนาของอาณาจักรล้านนา ซึ่งหลักฐานโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาในลำพูน พบว่า เมืองหริภุญไชย มีหลักฐานทางโบราณคดีแยกเป็นหลักฐานสำคัญ 2 ประเภท ได้แก่ 1) กลุ่มเอกสาร เช่น จามเทวีวงศ์ ชินกาลมาลีปกรณ์ มูลศาสนา พงศาวดารโยนก และจารึกต่างๆ และ 2) กลุ่มโบราณคดี เช่น สถาปัตยกรรม ประติมากรรม และรูปเคารพ และวิเคราะห์พระพุทธศาสนาในลำพูนกับการสร้างอารยธรรมทางสังคม พบว่า 1) การสร้างอารยธรรมต่อสถาบันการเมืองการปกครอง โดยกษัตริย์หรือผู้ปกครองเมืองหริภุญไชย ได้น้อมนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการดำเนินชีวิต 2) การสร้างอารยธรรมต่อสถาบันศาสนา โดยพระสงฆ์เป็นผู้นำด้านจิตวิญญาณ และ   4) การสร้างอารยธรรมต่อสถาบันเศรษฐกิจ ศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว โดยสถานประกอบการ ห้างร้าน วัดวาอาราม องค์กรเครือข่าย ได้ให้ความสำคัญกับการกำหนดโซนพื้นที่และผังเมือง  หริภุญไชย เพื่อสร้างบรรยากาศของเมืองให้น่าอยู่ ด้วยวิสัยทัศน์ที่ว่า ìลำพูน : เมืองแห่งความสุขบนความพอเพียงî

บรรณานุกรม

เธียรชาย อักษรดิษฐ์ และคณะ. (2545). ล้านนา : จักรวาล ตัวตน อำนาจ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ดรีมแคชเชอร์ กราฟฟิค จำกัด.
สุรพล ดำริห์กุล. (2545). แผ่นดินล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.
สัมภาษณ์ พระครูสิริสุตาภิมณฑ์. (2561). เจ้าคณะอำเภอทุ่งหัวช้าง วัดสุพรรณรังษี, วันที่ 9 เมษายน 2561.
สัมภาษณ์ พระครูวิสิฐปัญญากร. รองเจ้าคณะจังหวัดลำพูน วัดบ้านตอ. วันที่ 7 เมษายน 2561.
สัมภาษณ์ พระเทพรัตนนายก. เจ้าคณะจังหวัดลำพูน วัดพระธาตุหริภุญชัย. วันที่ 9 เมษายน 2561.
สัมภาษณ์ นิรันดร์ ด่านไพบูลย์. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน. วันที่ 21 เมษายน 2561.
สัมภาษณ์ นายพงษ์เทพ มนัสตรง. ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน, วันที่ 1 พฤษภาคม 2561.
สัมภาษณ์ พระครูไพศาลธรรมานุสิฐ. รองเจ้าคณะอำเภอเมืองลำพูน. วันที่ 1 พฤษภาคม 2561.
สัมภาษณ์ ดร.ไพรินทร์ ณ วันนา. ประธานหลักสูตรสาขาวิชาพระพุทธศาสนา. วันที่ 1 พฤษภาคม 2561.
สัมภาษณ์ นายนพพร นิลณรงค์ ปราชญ์ชาวบ้าน. วันที่ 9 เมษายน 2561.
สัมภาษณ์ พระครูกิตติปริยัตินิเวศน์ เจ้าอาวาสวัดแม่สารป่าขาม. วันที่ 1 พฤษภาคม 2561.
เผยแพร่แล้ว
2019-10-22