การประยุกต์หลักพุทธธรรมในการพัฒนาชุมชนวิถีพุทธตามโครงการหมู่บ้านบวร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง “การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาชุมชนวิถีพุทธตามโครงการหมู่บ้านบวร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย” มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาบริบทชุมชนวิถีพุทธตามโครงการหมู่บ้านบวร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย 2. เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในการพัฒนาชุมชนที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 3. เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาชุมชนวิถีพุทธ ตามโครงการหมู่บ้านบวร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรวมทั้งการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาชุมชนวิถีพุทธตามโครงการหมู่บ้านบวร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จำนวน 15 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า
- บริบทชุมชนวิถีพุทธตามโครงการหมู่บ้านบวร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย พบว่า มีคณะสงฆ์อำเภอศรีสัชนาลัย ร่วมกับสำนักวัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 องค์กรปกครองส่วนถิ่น ผู้นำชุมชนและประชาชนในพี้นที่ร่วมกันขับเคลื่อนโดยมีรากฐานทางด้านศาสนาศิลปวัฒนธรรมเป็นวิถีปฏิบัติในชีวิตประจำวัน และมีการดำเนินกิจกรรมตามนโยบายที่ทางคณะสงฆ์ ส่วนราชการและประชาชนอย่างสม่ำเสมอ
- หลักพุทธธรรมในการพัฒนาชุมชนที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่า บ้าน (ผู้นำชุมชนและประชาชน) วัด (พระสงฆ์) โรงเรียน (ครูและนักเรียน) นำมาบูรณาการ ได้แก่ หลักสังคหวัตถุ 4 คือ 1) ทาน มีการแบ่งปันด้วยปัจจัย 4 และธรรมทานซึ่งกันและกันภายในชุมชนอย่างเหมาะสมในยามปกติและในยามประสบภัยต่าง ๆ 2) ปิยวาจา มีการสื่อสารกันด้วยถ้อยคำที่สุภาพและเป็นกันเองระหว่างสมาชิกในชุมชน 3) อัตถจริยา มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างเครือญาติและคนในชุมชนด้วยจิตอาสา 4) สมานัตตตา มีการประพฤติปฏิบัติกิจกรรมทางด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตประจำวัน
- แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาชุมชนวิถีพุทธ ตามโครงการหมู่บ้านบวร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย พบว่า มี 3 ลักษณะ ได้แก่ 1. ส่วนบุคคล สำหรับพระสงฆ์ ผู้นำชุมชน ประชาชน ครู นักเรียน 1) ใช้ในกิจวัตรประจำวันซึ่งได้รับการปลูกฝังตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 2) ได้รับองค์ความรู้จากคนในครอบครัว โรงเรียนและพระสงฆ์เป็นผู้ถ่ายทอด 3) ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาในชุมชนและสังคมอย่างสม่ำเสมอ 2. ส่วนงาน ได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน 1) ผู้นำ และประชาชนถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกันในการอยู่ร่วมกันในสังคม 2) พระสงฆ์ทำหน้าที่เป็นผู้นำจิตใจด้วยการประพฤติตนเป็นแบบอย่างและอบรมจิตใจพุทธศาสนิกชน 3) ครูบาอาจารย์ทำหน้าที่อบรมกุลบุตรกุลธิดาให้มีความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม 3. ส่วนรวม (นโยบาย) คือ ระดับจังหวัดถึงประเทศ 1) สนับสนุนและส่งเสริมงบประมาณ บุคลากรและสื่อที่ช่วยขับเคลื่อนพันธกิจ บวร อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง 2) สร้างเครือข่าย บวร ในระดับจังหวัด ภูมิภาคและประเทศ 3) มีการวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานและนำไปพัฒนา บวร อย่างชัดเจน
บรรณานุกรม
พระสงฆ์ในเขตตำบลวังดิน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระไพศาล วิสาโล. (2529). อำนาจและยุทธวิธีไร้ความรุนแรง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,.
พินิจ ลาภธนานนท์. (2532). บทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 40. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์ ในเครือบริษัท สำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม จำกัด.