การบริหารจัดการลำน้ำจางกรณีศึกษา ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

  • ศยามล อินทิยศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • ศิลาวัฒน์ ชัยวงค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • สุทธิพร สายทอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

บทคัดย่อ

รายงานการวิจัยเรื่องการบริหารจัดการลำน้ำจางกรณีศึกษา ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. ศึกษาสภาพการณ์และศักยภาพการบริหารจัดการน้ำ ตำบลน้ำโจ้อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง 2. เพื่อศึกษาการส่วนร่วมบริหารจัดการน้ำ ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะจังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structure Interview) และทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) โดยการวิเคราะห์แบบอุปนัย(Analytic induction) ใช้วิธีตีความสร้างข้อสรุปข้อมูลจากรูปธรรมหรือปรากฏการณ์ที่มองเห็น จากการศึกษาด้านสภาพการณ์และศักยภาพการบริหารจัดการน้ำ ลำน้ำจางเขต ตำบลน้ำโจ้อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพบว่าการบริหารจัดการน้ำจากลำน้ำจางถูกนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอุปโภคบริโภคและด้านการเกษตรกรรมเป็นหลักโดยเฉพาะด้านเกษตรกรรมนั้น การปลูกข้าว ปลูกถั่วลิสง ปลูกถั่วฝักยาว รวมถึงการปลูกมะเขือเทศ ถือได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจหลัก ที่สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในเขตตำบลน้ำโจ้  ศักยภาพการบริหารจัดการน้ำในอดีตที่ผ่านมา มีการบริหารจัดการน้ำอย่างไม่เป็นระบบทำให้เกิดปัญหาซ้ำซาก อาทิ ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ในการ อุปโภคบริโภคและการเกษตรกรรม อันเนื่องจากการกักเก็บน้ำในช่วงหน้าแล้ง ปัญหาน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก เป็นต้น ก่อนที่จะมีการสร้างอ่างเก็บน้ำ, ฝายทดน้ำ, และขุดเจาะน้ำบาดาลเพื่อผลิตน้ำประปาหมู่บ้าน รวมถึงพัฒนาให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ลำน้ำจาง ในเวลาต่อมา  ด้านการส่วนร่วมบริหารจัดการน้ำของชุมชนในตำบลน้ำโจ้ ผลจาการศึกษาพบว่าประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ส่วนใหญ่มีความตระหนักรู้ในหน้าที่ของตนเองในการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำรักษาสภาพแวดล้อมในลำน้ำการร่วมกับหน่วยงานราชการกำจัดวัชพืช การไม่ทิ้งขยะมูลฝอยลงในลำน้ำ เป็นต้นเคารพกฎกติกาในใช้ทรัพยากรร่วมกัน รวมถึงการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของลำน้ำให้มีสภาพที่สมบูรณ์ มีพิธีการบวงสรวงลำน้ำเพื่อเป็นการสร้างความเชื่อความศรัทธาต่อสิ่งศักดิ์ที่ดูแลรักษาแหล่งน้ำโดยสืบทอดกันมาเป็นประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถิ่น รวมถึงการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการในชุมชนเพื่อสร้างความกินดีอยู่ดีของคนในชุมชนให้มีความยั่งยืนสืบไป

บรรณานุกรม

จอมเลเซฟเวอร์. (2563). ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปจังหวัดลำปาง. แก้ไขครั้งล่าสุด 2561. องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน. http://www.lp-pao.go.th

ชลธร ทิพย์สุวรรณ. (2557). การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการลุ่มน้ำสาขาแม่ริม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปราโมตท์ ธรรมรงค์. (2563). ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปจังหวัดลำปาง. แก้ไขครั้งล่าสุด 2559, สำนักงานการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลำปาง, สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายนhttp://www.korsorlampang.net.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: วิสิทธ์พัฒนา.

ศศินา ภารา. (2550). ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ. (2558). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำของประเทศ (ปี พ.ศ.2558- 2569). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ.

สถาบันแหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อม, กระทรวง. (2548). แผนการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขาแม่ริมปีพ.ศ.2549-2553. กรุงเทพมหานคร: สถาบันแหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อม.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). ความพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อนุชา ศรีวรรณ. (2563). ขุดลอกและกำจัดวัชพืช. แก้ไขครั้งล่าสุด 2560. กรมเจ้าท่า. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน. https://www.md.go.th/.
เผยแพร่แล้ว
2022-02-12