การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการจัดการแหล่งโบราณคดี จังหวัดร้อยเอ็ด

  • ไพฑูรย์ สวนมะไฟ
คำสำคัญ: การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์, การจัดการแหล่งโบราณคดี

บทคัดย่อ

รายงานการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการแหล่งโบราณคดีในจังหวัดร้อยเอ็ด 2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการจัดการแหล่งโบราณคดีในจังหวัดร้อยเอ็ด และ 3) เสนอแนวทางการจัดการแหล่งโบราณคดีโดยการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในจังหวัดร้อยเอ็ด รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัยคือ แหล่งโบราณคดีในจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มเป้าหมาย 30 รูป/คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์เนื้อหาโดยอุปนัยวิธี ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม พระสงฆ์มีบทบาทในการอนุรักษ์โบราณคดีน้อย ทั้งกฎหมายอนุรักษ์โบราณคดีมีลักษณะเป็นข้อห้าม ไม่ได้ระบุการมีส่วนร่วมของชุมชน งานการมีส่วนร่วมจึงไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน 2) ด้านบุคคล พระสงฆ์ไม่ได้มีส่วนร่วม ในงานบุคคลแต่อย่างใด เพราะเป็นงานราชการ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ 3) ด้านวัสดุ พัสดุที่มุ่งศึกษา ในงานวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับการซ่อมแซมโบราณคดีเท่านั้น ไม่ใช่งานพัสดุของหน่วยงาน การจัดซื้อวัสดุด้วยงบประมาณแผ่นดินพระสงฆ์ไม่ได้มีส่วนร่วม เพราะเป็นหน้าที่ของสำนักศิลปากร 4) ด้านงบประมาณ พระสงฆ์ไม่ได้มีส่วนร่วมในการจัดการบริหารงบประมาณแผ่นดิน แต่มีส่วนร่วมในการใช้แสวงหาและใช้จ่ายงบประมาณในการดูแลรักษาโบราณคดีเฉพาะการบูรณะซ่อมแซมด้วยเงินบริจาคของชาวบ้านเท่านั้น 5) ด้านความร่วมมือในการดูแลรักษา ลักษณะของการอนุรักษ์โบราณคดีของพระสงฆ์คือดูแลรักษาไม่ให้เสียหาย เมื่อเห็นว่าชำรุดทรุดโทรมหรือเสียหายก็แจ้งกรมศิลปากร ไม่ซ่อมแซมเองโดยพลการ
เผยแพร่แล้ว
2019-12-31