รูปแบบการจัดการความรู้แหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดร้อยเอ็ด

  • พระครูวาปี จันทคุณ
คำสำคัญ: การจัดการความรู้, แหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการความรู้แหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาจังหวัดร้อยเอ็ด ขอบเขตการวิจัยด้านพื้นที่ คือ แหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาจังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย 1) ขอบเขตด้านเนื้อหา มี 5 ประเด็น 1) ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ 2) การจัดทำฐานข้อมูล 3) การอนุรักษ์โบราณคดี 4) การปรับสภาพภูมิทัศน์เชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว 5) การจัดแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี ผลการวิจัยพบว่า การประชาสัมพันธ์แหล่งโบราณคดีในจังหวัดร้อยเอ็ดยังมีน้อยมาก ทั้งนี้เพราะเป็นโบราณคดีที่ไม่มีชื่อเสียงมาก และโดยมากไม่ได้จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยงเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นเพียงโบราณสถาน/โบราณคดีที่อยู่ในความครอบครองและดูแลของกรมศิลปากรเท่านั้น, โบราณคดีแต่ละแห่งขาดการจัดทำฐานข้อมูล ข้อมูลโบราณคดีแต่ละแห่งพบในสื่ออินเตอร์เน็ต เช่น บัญชีโบราณสถานของกรมศิลปากร, โบราณคดีที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นต้น, โบราณคดีในจังหวัดร้อยเอ็ดโดยมากไม่ค่อยมีปัญหากับการอนุรักษ์ เพราะได้รับการชี้แจงเรื่องกฎหมายและวิธีการอนุรักษ์โบราณคดีจากเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรแล้ว, แหล่งโบราณคดีในจังหวัดร้อยเอ็ดโดยมากไม่มีการปรับภูมิทัศน์ ดังนั้น จึงทำให้ขาดความสวยงามและเหมาะแก่การท่องเที่ยว, โบราณสถานเกือบทั้งหมดขาดการจัดแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม
เผยแพร่แล้ว
2019-12-31