การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการยกระดับการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 1 บุรีราษฎร์ดรุณวิทยา

  • ปรีชา แก้ววิเชียร
คำสำคัญ: การพัฒนารูปแบบ, การมีส่วนร่วมของชุมชน, การยกระดับการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน 2) ออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน 3) ดำเนินการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน และ 4) ประเมินความพึงพอใจและปรับปรุงแก้ไขการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการยกระดับการศึกษา โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 120 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ แบบสอบถาม และแบบประเมินความพึงพอใจ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. โรงเรียนได้จัดให้มีการสร้างความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา ยังไม่พบร่องรอยชัดเจนด้านเอกสารหลักฐานและการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง อีกทั้งชุมชนยังขาดความตระหนักในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทั้งทางตรงและทางอ้อม 2. รูปแบบและวิธีการที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า PARM Model ที่นำไปดำเนินการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา ปรากฏว่า มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ 3. ได้มีการนำรูปแบบการประชุมปรึกษาหารือไปใช้ในการดำเนินงานให้แก่ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน ผลการทดลองใช้อยู่ในระดับมาก ( = 4.23) ผลการพัฒนาอยู่ในระดับมาก ( = 4.27) และผลการเปรียบเทียบการทดลองก่อน – หลังการพัฒนา ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน และนักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.09)
เผยแพร่แล้ว
2019-12-31