การสร้างแอพพลิเคชั่น"อุ่นใจจัง" เตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติในภาคเหนือตอนบนของจังหวัดเชียงราย

  • พระอักขราภิศุทธิ์ ลูนละวัน
คำสำคัญ: การสร้างแอพพลิเคชั่น, เตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาภัยพิบัติ ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงราย และ 2. เพื่อสร้างแอพพลิเคชั่น "อุ่นใจจัง"และทดลองใช้ โดยการมีส่วนร่วมของคนท้องถิ่นในภาคเหนือตอนบนของจังหวัดเชียงราย และ 3. เพื่อนำแอพพลิเคชั่น"อุ่นใจ ไออุ่น"ไปใช้ในการเตือนภัย เตือนใจ และ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติได้โดยทันที ไม่ว่าจะเกิดแผ่นดินไหว น้ำท่วม หมอกควัน ของภาคเหนือตอนบนของ จังหวัดเชียงราย บทความวิชาการนี้เป็นทั้งงานเชิงเอกสาร (Documentary Research)และเชิงคุณภาพ สำรวจ สัมภาษณ์ ลงพื้นที่ การมีส่วนร่วม สร้างแอพพลิเคชั่นมีการประชุมวางแผนการวิจัย ศึกษาเอกสาร หลักการ ทฤษฎี ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องสภาพปัญหาภัยพิบัติทางธรรมเช่น แผ่นดินไหว ดินถล่ม น้ำท่วม หมอกควันไฟป่า ลงพื้นที่ศึกษาสภาพปัญหาการเกิดภัยพิบัติ ทางธรรมชาติ และรวบรวมความรู้การการมีส่วนร่วม และสร้างแอพพลิเคชั่น ระบบการฟื้นฟู และ บำบัด สภาพจิตใจของชุมชนในท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบภาวะวิกฤตภัยวิกฤตด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติในจังหวัดเชียงราย ดำเนินการใช้รูปแบบประชุมปฏิบัติการ และปฏิบัติการภาคสนามและ เขียนรายงานและนำแอพพลิเคชั่นเผยแพร่และใช้ให้เกิดประโยชน์ พบว่า แอพพลิเคชั่นอุ่นใจจังเป็นจุดศูนย์กลาง มีระบบในการเตือนภัย และ ระบบร้องขอความช่วยเหลือ ตลอดจนถึงตอบโต้เป็นการบันทึกข้อความในลักษณะ ทั้งเสียง และ ภาพ วิดีโอ ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในเฝ้าระวัง มีจิตอาสาในการให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชม. และมีการประสานความร่วมมือจากรัฐบาล จังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน หมู่บ้าน วัด โรงเรียน ในการให้ความช่วยเหลือและให้ความรู้ ทั้งสนับสนุนงบประมาณ จึงเป็นที่มาของแอพพลิเคชั่นอุ่นใจจัง
เผยแพร่แล้ว
2019-12-31